
อธิการซีเมออน
(2506 -2508)
การก่อสร้างอาคารหลังแรกอาศัยความร่วมมือจากหน่วยราชการเกือบทุกอย่าง
การบุกเบิกป่าสงวนแห่งชาติเป็นไปด้วยดี โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ก็ได้เริ่มก่อสร้างโรงเรียนมีอาคารเรียนคือตึกอัสสัมชัญ
เป็นตึกคอนกรีตสามชั้น มีห้องเรียน 18 ห้องเรียน
ใช้เพียง 13 ห้องเรียน อาคารบ้านพักบราเดอร์
เป็นตึกคอนกรีตสองชั้น 1 หลัง บ้านพักยุวนิสเป็นไม้สองชั้น
1 หลัง และยังมีอาคารอื่น ๆ อีก การก่อสร้างครั้งนั้นผู้ควบคุม
คือภราดาซีเมออน (ชาวฝรั่งเศส) ซึ่งคณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นอธิการอัสสัมชัญศรีราชา
อาคารต่างๆ สร้างเกือบเสร็จเรียบร้อย
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 ได้มีการแต่งตั้งให้ภราดา
ซีเมออน มาเป็นอธิการโรงเรียน
อัสสัมชัญระยอง คนแรก
ต้นเดือนพฤษภาคมปีการศึกษา
2506 ในวันแรกของการเปิดรับสมัครนักเรียนปีการศึกษานั้น
มีนักเรียนมาสมัคร 20 คน โรงเรียนได้ติดป้ายรับสมัครนักเรียนไว้หน้าโรงเรียนด้วยแผ่นป้ายเล็ก
ๆ มีความสูงประมาณ 1 เมตร ตอนนั้นยังไม่มีรั้ว
เนื้อความประกาศว่ารับสมัครนักเรียน ชั้น
ป. 1 - ป. 7 และวันต่อ ๆ มา ก็มีนักเรียนมาสมัคร
เพิ่มขึ้น จนถึงวันเปิดเรียนวันแรก ในวันที่
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 มีจำนวนนักเรียน ทั้งหมด
580 คน ซึ่งก็เกินความคาดหมายของท่านอธิการที่ต้องการเพียง
300 คนเท่านั้นก่อน
ผู้ทำการบุกเบิกยุคแรกมี ภราดา 5 ท่าน
ครู 16 คน
1. ภราดาซีเมออน อธิการโรงเรียน
2. ภราดาภักดี ทุมกานนท์ ครูใหญ่และอธิการยุวนิส
3. ภราดาสมหมาย ตรีถาวร
4. ภราดาสรชัย สุขชัย
5. ภราดาประเสริฐ อานามนารถ
คณะครูชุดแรก
ม. ทองหยอด สุวรรณประกาศ
ม. ฤาชัย บริราช
ม. บุญเพ็ง ศรีสุนทร
ม. พิชัย อัมพุสุวรรณ
ม. อุทัย ธนระ
ม. โกเมศ ชลมาศ
ม. สมาน อุ่นประเสริฐ
ม. อนนท์ ลีลายุทธ์
ม. วรเทพ เอี่ยมตระกูล
ม. สินชัย อ่อนไสว
ม. ชาญณรงค์ โตชูวงศ์
มิสสุธินี พุฒิธนะสุนทร
ม. วารี ภัทรกุล
มิสนัยนา นาวาประดิษฐ์
ม. สมัย ทองไสว
มิสระวีวรรณ ธงชัย
จำนวนครู
16 ท่านนี้เป็นอัสสัมชัญชนิก 9 ท่าน ถ้ารวมบราเดอร์ก็จะรวมเป็น
14 ท่าน
ในวันมอบโฉนดที่ดินโรงเรียนให้กับตัวแทนมูลนิธิเซนต์คาเบรียลประธานคือท่านผู้ว่า
ฯ ส่ง
เหล่าสุนทร วันนั้นมีแขกผู้มีเกียรติหลายท่านประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
คณะภราดาจากคณะเซนต์
คาเบรียล พ่อค้าและประชาชน จากคำบอกเล่าว่าวันนั้นท่านมีความภาคภูมิใจมากที่มีวันนี้
ท่านได้กล่าวว่ารู้สึกภูมิใจมากในสิ่งที่ท่านได้ฝันไว้
ขณะนี้ผลสำเร็จได้เกิดขึ้นแล้ว ท่านยังให้ความหวังกับชาวระยองต่อไปอีกว่า
นักเรียนสำเร็จจากสถาบันนี้เป็นคนดีมีคุณธรรม
จะนำความก้าวหน้าความเจริญมาสู่จังหวัดระยองต่อไปในอนาคตช่วงแรก
ๆ ครูส่วนมากจะพักอยู่ภายในโรงเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นห้องนอน
เนื่องจากการสัญจรไปมา ยากลำบากมาก ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ปี 2506 ทางโรงเรียนได้สร้างบ้านพักครูขึ้นหลังหนึ่งปัจจุบันบริเวณบ้านพักนั้นคือ
หอประชุมหรือโรงพละ และสร้างสนาม บาสเกตบอลอยู่หลังอาคารอัสสัมชัญ
ปีการศึกษา 2508 มีนักเรียน 920 คน เปิดเรียนตั้งแต่
ชั้น ป. 1 - มศ. 2 จึงทำให้อาคารเรียนหลังแรกไม่พอสำหรับนักเรียนแต่ช่วงปี
2507 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารชั่วคราวขึ้นหลังหนึ่ง
เพื่อใช้เป็นชั้นเรียนให้กับนักเรียนชั้นประถมปีที่
1( ห้องสมุด ในปัจจุบัน ) ต่อมาได้สร้าง อาคารเพิ่มขึ้นอีก
1 หลัง เป็นอาคาร 3 ชั้น ขณะที่กำลังก่อสร้างอยู่
เป็นช่วงที่อธิการซีเมออนย้ายไปรับตำแหน่งอธิการอัสสัมชัญศรีราชา
|


ภราดาเซราฟิน
(2508)
อธิการซีมีออน
ต้องกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด ที่ประเทศฝรั่งเศสตามระเบียบวาระของ
คณะเซนต์คาเบียล เป็นเวลา 3 เดือน ภราดาเซราฟิน
ชาวสเปน ได้รับการแต่งตั้งจากอธิการเจ้าคณะแขวงฯ
ให้รักษาการตำแหน่งอธิการแทนภราดาซีเมออน ในตอนปลายปีการศึกษา
2507 อธิการเซราฟินเป็นคมมีจิตใจสงบเสงี่ยม
สุภาพ ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย สมถะ สิ่งที่ท่านได้ทำไว้ให้แก่โรงเรียนอัสสัมชัญระยองก็คือ
เป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับชั้น ป.5-ป.7
สำหรับนักเรียนที่เรียนอ่อนในวิชาภาษาอังกฤษเท่านั้น
แม้ว่าท่านจะอยู่ที่อัสสัมชัญระยองเพียงระยะเวลาสั้นๆ
แต่คณะครู ลูกศิษย์ ทุกคนยังคงจำท่านได้และถามถึงท่านเสมอ |


อธิการวีระ
วัชระศิริ ( 2509 - 2511 )
ปีการศึกษา
2509 - 2511 ผู้บริหารโรงเรียนคือ ท่านอธิการวีระ
วัชระศิริ มีภราดา 3 ท่าน และครู 35 คน มีนักเรียนในช่วงที่ท่านอธิการวีระ
วัชระศิริ พันกว่าคนงานของท่านอธิการคนใหม่นี้คือการเร่งก่อสร้างอาคารหลังใหม่ให้เสร็จก่อนเปิดเทอม
อาคารหลังใหม่สามชั้นก็จริง แต่ชั้นล่างนั้นตอนแรกยังโปร่งไม่มีห้องเรียน
ใช้ทำเป็นห้องประชุม ส่วนชั้นที่สองกับชั้นที่สามนั้นจะใช้ทำเป็นห้องเรียนและห้อง
วิทยาศาสตร์ ด้วยสภาพ ของบริเวณโรงเรียนที่เคยเป็น
ป่าสงวนแห่งชาติมาก่อน ก็ได้ถูก ปรับปรุงให้มองดู
สวยงาม ร่มรื่น เพื่อจะได้เป็นที่น่าสนใจและต้องตาแก่ประชาชน
และผู้ปกครองที่ได้พบเห็นหรือมาเยือน
ผู้ที่ทำให้ บรรยากาศรอบ ๆ โรงเรียน ดูดีขึ้นทันตาคือ
ภราดาภักดี ทุมกานนท์ และท่านอธิการเซราฟิน
(ช่วงที่ท่านดำรง ตำแหน่งแทนอธิการซีเมออนตอนไปดูงานต่างประเทศ)
มีต้นไม้หลายชนิดที่ท่านได้นำมาปลูกมากมายเป็นทั้งต้นไม้
ประดับและพวกผลไม้บางชนิด
อธิการวีระ วัชระศิริ ได้ปรับปรุงหลายอย่างให้ดูดีขึ้น
โดยย้ายเสาธงอยู่ตรงกลางของโรงเรียนซึ่งจะอยู่ตรงกลางระหว่างตึกสองตึก
ในสมัยนั้นไม่มีหน่วยงานใดในจังหวัดระยองมีเสาธงที่สูงเท่ากับเสาธงของโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
ส่วนรอบเสาธงทำเป็นวงกลมเป็นชั้น ๆ ในแต่ละชั้นจะปลูกต้นไม้ประเภทไม้ดอกหลายชนิดสวยงามมาก
ทางเข้าออกประตูโรงเรียนปลูกต้นกุหลาบ ทำให้บริเวณโรงเรียนสวยงามและสดชื่นมองดูเป็นธรรมชาติแก่ผู้ที่ได้พบเห็น
ผู้เล่าให้ฟังบอกว่าน่าเสียดาย เพราะตอนนี้ไม่มีบรรยากาศแบบนั้นให้เห็นแล้ว
ปี 2509 - 2511 มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี
ทำให้น้ำดื่มน้ำใช้ และสุขาไม่พอให้นักเรียนใช้
อธิการวีระ วัชระศิริ จึงได้สร้างห้องสุขาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่งและขยายก๊อกน้ำเพิ่มอีก
โดยแยกออกจากก๊อกน้ำเดิม (แต่เดิมก๊อกน้ำจะอยู่ติดกำแพงด้านหลังของตึกอัสสัมชัญปัจจุบัน)
อธิการวีระ วัชระศิริ นอกจากจะบริหารงานภายในโรงเรียนทุกเรื่องแล้ว
ยังเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถเล่นกีฬาได้เก่งหลายประเภท
จึงเป็นแรงผลักดันให้กีฬาของโรงเรียนในสมัยนั้นมีชื่อเสียงไปทั่วจังหวัดระยอง
โดยเฉพาะกีฬาบาสเกตบอลทุกรุ่น เมื่อใดที่มีการแข่งขันก็จะได้ถ้วยเป็นเกียรติยศให้กับโรงเรียนอยู่เสมอ
ในสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนใดที่มีกีฬาสีภายในโรงเรียน
ไม่มีการแบ่งนักเรียนออกเป็นสี ๆ เสื้อสี
หรือเสื้อกีฬาของโรงเรียน ดังนั้นอธิการวีระ
วัชระศิริ เป็นคนแรกที่ได้วางพื้นฐานในการจัดให้มีการ
แข่งขันกีฬาโดยแบ่งนักเรียนออกเป็นสี ๆ ในการแข่งขัน
จะพูดเลยก็ได้ว่าโรงเรียนอัสสัมชัญระยองเป็นต้นแบบในการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาภายใน
โรงเรียนรวมทั้งการมีเสื้อสี และสิ่งที่เชิดหน้าชูตาอีกอย่าง
คือ การที่ให้ผู้ว่าฯ เป็นผู้จุดคบเพลิงที่จวนของผู้ว่า
ฯ แล้วนักกีฬาก็จะถือคบเพลิงวิ่งจากจวนผ่านตัวเมืองสู่
โรงเรียนเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร เพื่อนำมาจุดไว้ที่โรงเรียน
คบเพลิงนี้จะสว่างโชติ ช่วงอยู่ตลอดวันตลอดคืนจนถึงวันปิดการแข่งขัน
คบเพลิงนี้จะค่อยหรี่แสงลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งดับสนิท
ก็นับว่าเป็นเหตุการณ์แรกของจังหวัดระยอง และต่อมาก็ได้มีหลายโรงเรียนได้นำไปใช้
ปี พ.ศ. 2510 เป็นปีที่ทางโรงเรียนอัสสัมชัญระยองมีอายุครบ
5 ปี อธิการก็ได้สร้างความประทับใจให้กับนักเรียน
ผู้ปกครองและประชาชน คือการจัดนิทรรศการ การแสดงผลงานของนักเรียนและการแสดงบนเวที
ซึ่งนับเป็นกิจกรรมชนิดแรก แบบที่ยังไม่เคยจัดมาก่อนเลย
ถึงแม้ว่าขณะนั้นทางโรงเรียนยังไม่สะดวกเรื่องไฟฟ้า
แต่อาศัยความร่วมมือร่วมใจของคณะครูและความตั้งใจจริงของอธิการ
จึงถือเป็นครั้งแรก และเป็นการได้ปูพื้นฐานให้มีกิจกรรมต่างๆ
ในโอกาสที่สำคัญต่อๆ มา หนังสืออนุสรณ์ได้จัดทำเป็นครั้งแรกให้กับโรงเรียนอัสสัมชัญระยองเช่นกัน
โดยจัดทำให้กับนักเรียน ม.ศ. รุ่นที่ 2 ของโรงเรียน
และก็ถือว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญและชิ้นแรกของโรงเรียน
ในจังหวัดระยองเช่นกัน
ครั้นสิ้นปีการศึกษา 2511 อธิการวีระ วัชระศิริ
ก็ต้องย้ายไปประจำที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
แต่ผลงานที่อธิการได้ทำไว้ยังเป็นที่จารึกไว้ในใจของอัสสัมชัญระยองตลอดมา
|


อธิการพจน์
เลาหเกียรติ (2512 - 2514 )
ปีที่
7 ของโรงเรียนอัสสัมชัญระยองเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร
ๆ หลายอย่าง เนื่องจากอธิการพจน์ได้นำความรู้ความสามารถที่ได้ประสบการณ์มาจากต่างประเทศนำมาบริหารงาน
ในโรงเรียน โดยมุ่งเน้นอนาคตของโรงเรียนเป็นสำคัญ
งานชิ้นแรก คือ การปรับเปลี่ยนพื้นดินที่เป็นทรายแห้งแล้งกลายเป็นการปลูกต้นไม้ที่เขียวชอุ่มทั้งรอบบริเวณ
โรงเรียนที่เคยถมดินลูกรังไว้ ก็เปลี่ยนเป็นต้นไม้รอบโรงเรียน
ซึ่งทำให้ดูสดชื่นร่มเย็นแก่ผู้ที่ผ่านไปมาทำให้น่าดูกว่าแต่ก่อนซึ่งมีแต่
ความแห้งแล้ง จึงกล่าวไว้ว่าท่านมาเริ่มต้นฟื้นฟูจิตใจครูนักเรียนให้มีความสดชื่น
กระตือรือร้นในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนของโรงเรียนก็จะเขียวชอุ่ม
ไปด้วยต้นไม้
ปี
พ.ศ. 2506 - 2512 อธิการได้ปรับปรุงห้องทำงานอธิการ
และห้องทะเบียน ที่เคยใช้ห้องเรียนเป็นห้องปฏิบัติการ
โดยเปลี่ยนห้องอธิการให้เป็นห้องปรับอากาศ ทำให้มองดูเป็นห้องที่มีความศักดิ์สิทธิ์น่าเกรงขาม
แก่ผู้ปกครองที่มาติดต่อ ส่วนห้องทะเบียนก็ได้เปลี่ยนแปลงใหม่
โดยจัดให้เป็นแผนก ๆ มีเจ้าหน้าที่ประจำในแต่ละแผนกนั้น
ๆ เพื่อความสะดวกในการติดต่อสอบถามมากยิ่งขึ้น
เพราะก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้งงานทุกอย่างอยู่ในความรับผิดชอบของอธิการเกือบทุกอย่าง
เพราะยังไม่มีผู้รับผิดชอบที่มีความชำนาญการอย่างเช่นปัจจุบันนี้
ส่วนภายในห้องเรียนได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระบรมราชินีนาถมาติดไว้ทุกห้อง
ปี
พ.ศ. 2514 โรงเรียนอัสสัมชัญระยองได้รับรองวิทยฐานะ
ซึ่งในการรับรองครั้งนี้
ทางโรงเรียนต้องเพิ่มห้องเรียนอีก 6 ห้อง โดยได้ต่อเติมห้องเพิ่มจากชั้นล่างของอาคารเรียนหลังใหม่
และชั้นที่ 3 ที่เคยใช้เป็นห้องวิทยาศาสตร์มาในปีการศึกษา
2513 อธิการพจน์ได้เปลี่ยนให้มาใช้เป็นห้องเรียนทั้งหมด
ห้องส้วมในสมัยนั้นได้ก่อสร้างไว้ตรงกลางระหว่างอาคารเรียนทั้งสองหลังซึ่งตรงกับเสาธง
และประตูกลาง ทำให้ไม่น่าดูหรือดูแล้วไม่งามตา
ความสง่างามที่ไม่มีโรงเรียนไหน ๆ ในจังหวัดระยองเทียบเท่าเลย
ในสมัยนั้นดูเหมือนจะหมดราศีไปเลยเพราะห้องส้วมที่ถูกสร้างขึ้นไว้ตรงนั้น
อธิการจึงให้สร้างบอร์ดสูงปิดบังเอาไว้ และบอร์ดนั้นด้านหน้าใช้ทำกิจกรรมต่างๆ
ของนักเรียน ส่วนด้านหลังได้ทำเป็นก๊อกน้ำ (ปัจจุบันบริเวณทั้งหมดคืออาคาร
ส่ง เหล่าสุนทร)
การมีไฟฟ้าใช้
จริง ๆ แล้วไฟฟ้าของทางส่วนราชการนั้นจะเข้าถึงโรงเรียนในปี
2519 ซึ่งเป็นไฟฟ้าที่มาจากเขื่อนยันฮี แต่อะไรก็ตามที่จะพาซึ่งความเจริญความก้าวหน้าให้กับโรงเรียนแล้ว
ท่านอธิการจะต้องรีบเร่งดำเนินการโดยเร็ว ดังนั้นทั้งหมู่บ้านหนองสนม
โรงเรียนเซนโยเซฟ จึงมีไฟฟ้าใช้ก่อนที่โครงการของรัฐบาลจะมาถึง
5 - 6 ปี ทั้งนี้ด้วยการที่ได้อาศัยเงินจำนวนมากที่ได้มาจากประชาชนใน
ท้องถิ่นและโรงเรียน ทั้งสองสถาบันไปซื้อหม้อแปลง
และเสาไฟ ฟ้า นับว่าเป็นมหากาลครั้งสำคัญก็ว่าได้
เพราะการมีฟ้าใช้ในสมัยนั้นก็เท่ากับการนำมาถึงซึ่งความเจริญเป็นที่สุดแล้ว
ปีการศึกษา 2514 โรงเรียนได้สร้างหอประชุมที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นเช่นกัน
หอประชุมนี้เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียวที่ สามารถบรรจุนักเรียนได้
1,000 กว่าคน อาคารนี้นอกจากใช้ห้องประชุมนักเรียน
แล้วยังใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และใช้ในการเรียนวิชาพลานามัยกว่าจะมาถึงปัจจุบันนี้
อาคารหอประชุมแห่งนี้นับว่ามีคุณประโยชน์มาก
( ปัจจุบันใช้เป็นหอประชุมเท่านั้น )ในที่สุดวาระการโยกย้ายผู้บริหารก็มาถึง
เมื่อครบเทอมของการบริหารคือ 3 ปี ท่านอธิการพจน์
เลาหเกียรติ ย้ายไปเป็นอธิการโรงเรียนมงฟอร์ตที่จังหวัดเชียงใหม่
|


ภราดาพยุง
ประจงกิจ (2515)
ถึงแม้ว่าท่านจะมีช่วงบริหารงานน้อยกว่าท่านอธิการอื่น
ๆ ที่กล่าวมาแต่ก็ได้มีผลงานที่ริเริ่มและเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจ
ในปัจจุบันคือการเปิดให้มีชั้นอนุบาลขึ้นในปีการศึกษา
2516 เข้าใจว่าท่านอธิการพยุง คงทราบดีว่าพื้นฐานของเด็กนักเรียนที่รับเข้ามาจากสถาบันแห่งอื่น
ๆ นั้นต่างกันมาก อาจทำให้การสอนของครูในระดับ
ป. 1 เป็นไปค่อนข้างลำบากว่าจะมาปรับให้เข้าได้นั้น
ทำให้เสียเวลาไปมาก ซึ่งถ้าหากโรงเรียนได้วางพื้นฐานเอง
แล้วได้สอนต่อเนื่องถึงระดับประถมเลยนั้นประสิทธิภาพย่อมดีกว่าแน่
ก็นับได้ว่าท่านได้ปูพื้นฐานทางการศึกษาไว้ให้กับอนาคตโรงเรียน
ถึงแม้ว่าปีการศึกษาต่อ ๆ มาการศึกษาในระดับอนุบาลจะมีอุปสรรคมากมายแต่ในปัจจุบันการศึกษาในระดับนี้ก็เป็นที่ยอมรับ
ของประชาชน แต่น่าเสียดายที่ อธิการไม่สามารถอยู่บริหารงานที่ริเริ่มไว้ได้สำเร็จ
เพราะต้องย้ายไปทำงานอย่างอื่น ณ สถาบันอื่น |


อธิการอรุณ
เมธเศรษฐ ( 2516 - 2518 )
อธิการอรุณ
เมธเศรษฐ เป็นอธิการที่หนุ่มกว่า อธิการคนก่อน
ๆ ที่เคยมาบริหาร การบริหารโรงเรียนใน สมัยนั้น
ส่วนมากเป็นไปในรูปของความเป็นประชาธิป ไตย
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของสังคมในสมัยนั้น
หรือ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นยุคของคนหนุ่มปกครองโรงเรียน
เพราะทั้งอธิการ ครูหลายท่าน ต่างก็เป็นคนหนุ่ม
คนสาว อธิการจึงไม่ปิดกั้นความสามารถของครู
ใครมีความ สามารถอะไรก็ให้นำออกมาใช้เพื่อความก้าวหน้า
ของโรงเรียน
ในเรื่องของการกีฬา
อธิการให้การส่งเสริมกีฬาใน ทุกประเภท และที่ผ่านมาไม่เคยมีอธิการคนใด
จะจัดกีฬา ได้นาน ๆ และมีบ่อยครั้งในปีการศึกษาได้เท่ากับอธิการ
คนนี้ ตัวอย่างเช่นการจัดกีฬาสีประจำปีการศึกษา
แข่งขัน ระหว่างชั้นเรียน การเชิญสถาบันอื่น
ๆ มาแข่งขัน หรือการที่ นำนักกีฬาออกไปแข่งขันกับสถาบันอื่น
ๆ เพื่อสร้างให้ นักกีฬาและโรงเรียนมีประสบการณ์ในการกีฬามากขึ้น
จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่อธิการคิดสร้างสนามกีฬาขึ้น
หลายแห่ง อาทิเช่นสนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล
สนามวอลเล่ย์บอล และสนามตะกร้อ ในเรื่องของอุปกรณ์
การกีฬา ก็ให้ความสนับสนุนให้ทางโรงเรียนจัดหาให้ครบ
เกือบทุกอย่างเท่าที่หาได้ในสมัยนั้น
การบริหารโรงเรียนของท่านอธิการอรุณ จะเป็น
ไปตามสภาพของสังคมในยุคนั้น ซึ่งเป็นยุคของ
ประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านได้พยายามจัด
ให้มีสภานักเรียน และสภาห้องเรียนโดยให้มีการประกาศ
รับสมัครกรรมการสภานักเรียน ให้โอกาสนักเรียนเหล่านั้น
หาเสียง โดยแยกออกเป็นพรรค ๆ แล้วจึงให้มีการ
ลงคะแนน เลือกตั้งอย่างเสรีเพื่อจะให้นักเรียนมีส่วน
ในการปรับปรุง ช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่าง
ๆ ส่วนสภา ห้องเรียนท่านก็ให้เริ่มมีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่
7 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกัน
ช่วยเหลือโรงเรียนในเรื่องของระเบียบห้องเรียน
และช่วยเหลือนักเรียนด้วยกัน เองในเรื่องของการเรียน
และอื่น ๆ แต่ก็เป็นเพียงความริเริ่ม ที่ท่านคิดให้มีขึ้น
เป็นครั้งแรก และยังไม่ประสบกับความสำเร็จตามความ
คาดหวังที่ท่านต้องการ ด้วยสาเหตุหลายประการ
ในที่สุดผลงานของท่านชิ้นนี้ก็ล้มเหลวไป
ปี
2518 ท่านได้สร้างห้องสมุดขึ้นใหม่ โดยให้อยู่
ภายในบริเวณของห้องประชุมด้วยเหตุนี้โรงเรียนอัสสัมชัญ
ระยองจึงมีห้องสมุดที่เป็นเอกเทศ ถึงแม้ว่าจะถูกแบ่งเป็น
ห้องที่ไม่ใหญ่โต แต่ก็จัดไว้ให้เป็นสัดส่วนสำหรับที่จะให้
นักเรียน และครูเข้าไปใช้ ส่วนในด้านงานก่อสร้างอะไร
ที่เป็นชิ้นใหญ่ ๆ ท่านไม่ได้สร้างอะไรไว้เลย
เพียงแต่รักษา และซ่อมแซมของเดิมไว้ให้ดีเท่านั้น |


อธิการฟิลลิป
เนรี ( 2519 - 2524 )
อธิการฟิลลิป เนรี เป็นชาวอินเดียแต่เกิดที่
ประเทศอิสราเอล เคยมาเป็นบราเดอร์ในสมัยอธิการ
วีระ วัชระศิร และอธิการพจน์ เลาหเกียรติ
จึงเป็นที่คุ้นเคย กับครูคนเก่าหลายท่าน แต่ในการที่มารับงานเป็นอธิการ
ครั้งนี้ ในช่วงแรกนั้นได้มีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้น
สภาวะภายในโรงเรียนปั่นป่วนมาก จำนวนนักเรียนลด
น้อยลงอย่างน่าใจหาย ครูเก่า ๆ ก็ได้ลาออกหลายคน
สาเหตุใหญ่ก็น่าจะมาจากหลายประการ เช่นครูเองมี
ความจำเป็นต้องออก เศรษฐกิจที่ตกต่ำ สนามบินอู่ตะเภา
ถูกเลิกไป มีคนตกงานจำนวนมาก ซึ่งผู้ตกงานส่วนหนึ่งก็
เป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ต้องให้บุตรลาออกไปเรียน
โรงเรียนรัฐบาลซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
และทาง รัฐบาลได้ให้ความสำคัญทางการศึกษามากขึ้นได้มีการ
ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรทั้งประถมและมัธยมมีการขยาย
ภาคบังคับการศึกษาเน้นครูผู้สอนต้องมีความรู้ความ
สามารถสอนให้ตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมา จึงเป็นที่นิยม
กับประชาชนมากโดยเฉพาะชาวระยองในขณะนั้น เริ่มมอง
ภาพพจน์ของโรงเรียนในด้านลบมากกว่าด้านบวก
บราเดอร์ฟิลลิปไม่เคยบริหารงานเป็นอธิการ
ที่ไหนมาก่อนต้องมาผจญกับปัญหานานาประการ
แต่ตัว ท่านเองก็ไม่เคยคิดที่จะย่อท้อต่ออุปสรรคใดทั้งสิ้น
ท่านจะ พูดให้กำลังใจตัวท่านเองอยู่เสมอ ว่าเมื่อมีปัญหามาก็แก้
ปัญหาไป เมื่อเข้าแก้ทางประตูไม่ได้ ก็ให้แก้ทางหน้าต่างก็แล้วกัน
และทางประตูหน้าต่างปิดก็ให้เข้าแก้ทางช่องลมเรียก
ได้ว่าพร้อมแล้วที่จะต่อสู้กับอุปสรรคทุกด้าน
ช่วงนั้นทาง คณะได้มีแนวโน้มว่า หากโรงเรียนในเครือโรงเรียนใด
มีปัญหาไม่สามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ ก็ให้เลิกกิจการไป
จึงเป็นช่วงที่สมรรถภาพของครูทุกคนสั่นสะเทือนมาก
อธิการเองก็ได้ประกาศให้ครูทุกคนทราบว่า "ไม่ทราบว่า
โรงเรียนอัสสัมชัญระยองจะต้องยุบเมื่อไร ขอให้ครูที่มี
โอกาสออกไปหางานอื่นทำได้ เพราะว่าที่นี่ไม่มีความ
แน่นอนสำหรับชีวิตการทำงานของครู" แต่เป็นที่น่าแปลก
ว่าในช่วงเวลา 6 ปีที่บราเดอร์ฟิลลิป เนรี
เป็นอธิการมีครู ลาออกน้อยที่สุดมีครูหลายคนคิดจะลาออก
แต่ก็ไม่มีใคร ลาออก ทั้ง ๆ ที่เงินเดือนไม่มีการปรับขึ้น
ในบางปีทุกคน ยอมสู้กับท่าน
การบริหารงานในสมัยก่อนนั้นคณะกรรมการ บริหารจะเป็นเพียงที่ปรึกษาอธิการ
แต่ในสมัยอธิการ ฟิลลิป เนรี การบริหารโรงเรียนแต่ละหน่วยงานจะถือ
ข้อตกลงของคณะกรรมการบริหาร ถึงอย่างนั้นการบริหาร
งานของอธิการก็ยังมีอุปสรรคเพราะกลุ่มครูที่เป็น
ผู้ร่วมบริหารไม่ใช่มืออาชีพจึงเกิดปัญหาระหว่างครู
กับบราเดอร์ เพราะแต่ละฝ่ายไม่ทราบบทบาทหน้าที่
ของตน มีการก้าวก่ายหน้าที่ของกันและกันอยู่บ่อยครั้ง
และด้วยไหวพริบอันชาญฉลาดของอธิการที่สามารถแก้ไข
สถานการณ์ได้ อธิการเริ่มมอบหมายให้ทุกคนทำงานที่
ต้องการ ทั้งที่ทราบว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้น
แต่ถ้าผู้รับ ผิดชอบงานแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้
เพราะขาดความ สามารถ ท่านจะเรียกงานนั้นกับมาบริหารเอง
และเมื่อ ทุกคนทราบว่าตนมีความสามารถทำงานนั้นได้ดีแค่ไหน
สามารถรับงานได้ในระดับไหนแล้ว การทำงานในสายงาน
ต่างก็เริ่มดีขึ้น
โรงเรียนอัสสัมชัญระยองเริ่มมีภาพพจน์ดีขึ้น
ในสายตาของผู้ปกครอง เนื่องด้วยทั้งอธิการและบราเดอร์
ให้ความสำคัญกับหน่วยงานต่าง ๆ ของสังคม โดยได้เข้า
ร่วมเป็นสมาชิกไลอ้อนระยอง ติดต่อและเยี่ยมเยียน
ผู้ปกครองทั้งในปัจจุบันและในอดีต จึงทำให้ทราบว่า
ทำไมผู้ปกครองถึงนำลูกหลานออกไปเรียนที่อื่นเกิดขึ้น
เพราะสาเหตุอะไรบ้าง และบางเรื่องผู้ปกครองจะสรุป
เอาเอง อธิการจึงต้องชี้แจงใหม่ให้เข้าใจในทางที่ถูกต้อง
ส่วนสมาคมไลอ้อนอธิการก็ได้ชี้แจงให้สมาชิกในกลุ่ม
ทราบถึงนโยบายของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล สมาชิก
ไลอ้อนหลายคนบอกว่านโยบายของคณะคล้ายกับของ
สมาคมมาก เป็นที่ยอมรับกันในต่อมาว่าเรื่องวาทศิลป์
ของอธิการนั้นสามารถโน้มน้าวจิตใจคนได้อย่างดีเยี่ยม
พวกเราหลายคนในขณะนั้นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าถ้า
อธิการเป็นนักธุรกิจในด้านการค้าขายต้องร่ำรวยกิจการ
ใหญ่โตแน่นอน ครั้งหนึ่งในสมัยอธิการพจน์
เลาหเกียรติ อธิการฟิลลิปเป็นบราเดอร์ ได้พาคณะครูไปเที่ยว
และ บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมชมสนามบินอู่ตะเภา
ตอนนั้นการ เข้าออกสนามบินอู่ตะเภากวดขันมากเมื่อไปถึงประตู
ทางเข้า อธิการพจน์ได้โทรศัพท์ติดต่อภายในปรากฏว่า
เข้าไม่ได้ โดยอ้างเหตุว่าสนามบินเกิดขัดข้อง
แต่พออธิการ ฟิลลิป ขอโทรติดต่อเองกับเจ้าหน้าที่ภายในสักประมาณ
2 - 3 นาที ในที่สุดขณะครูทั้งหมดก็ได้เข้าชมสนามบิน
อู่ตะเภา จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทุกคนยอมรับในเรื่องการพูดที่
เปี่ยมไปด้วยความสามารถที่คนไทยหลายคนทำไม่ได้
เหมือนกับอธิการฟิลลิป เนรีคนนี้
|


อธิการชูชาติ
ลิมปิสุวรรณโชติ (2525 - 2527 )
การบริหารงานของท่านอธิการในช่วงแรกคือ
การก่อสร้างอาคารส่ง เหล่าสุนทร ซึ่งเป็นโครงการริเริ่ม
ในสมัยอธิการฟิลลิป เนรี ส่วนในด้านวิชาการอธิการได้
มอบหมายงานให้บราเดอร์ทั้งสองคือ บราเดอร์วิจารณ์
แสงหาญ เป็นหัวหน้าฝ่ายมัธยม
และบราเดอร์สมชาย อานามนารถ เป็นหัวหน้าฝ่ายประถม
ส่วนตัวท่านอธิการ เองคุมฝ่ายอนุบาล
อธิการชูชาติเป็นนักวิชาการอาจจะพูด
เลยก็ได้ว่ายังไม่เคยมีอธิการที่เป็นนักวิชาการมาบริหารโรงเรียน
อัสสัมชัญระยอง อธิการชูชาติได้วางระบบฝ่ายวิชาการ
ทางอนุบาล ประถม และมัธยม
แนวทางที่ท่านได้ปูไว้ คาดว่าจะสัมฤทธิผลภายในระยะเวลา
6 ปี แต่น่าเสียดาย
ที่อธิการอยู่บริหารโครงการที่เตรียมไว้ได้ยังไม่สัมฤทธิผล
ก็ต้องย้ายไปตามวาระ
เพื่อไปรับตำแหน่งอธิการที่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์แต่ถึงอย่างไรระบบที่วางไว้ให้กับ
อนุบาลคือ
- การรับนักเรียนตรงตามเวลา
- การจัดชั้นเรียนโดยให้นักเรียนที่เรียนดีและ
อ่อนไว้ให้อยู่ในห้องเดียวกัน
- กำหนดเวลาในการสอบให้เหมาะสมกับ วิชาที่สอบ
- จัดเด็กเป็นกลุ่ม เพื่อให้เด็กที่เรียนดีช่วยเพื่อน
ที่เรียนอ่อนกว่า
- ฝึกให้นักเรียนเป็นผู้นำเข้าสังคมกับเพื่อน
ๆ ได้
- ให้เสรีกับครูในการแต่งกาย เพื่อสร้างความมี
สีสรรให้กับนักเรียนในวัยอนุบาล
ส่วนทางฝ่ายประถมและมัธยมให้หัวหน้าตึกรับไป
ดำเนิน การให้แบ่งสายงานกันในการปกครอง และห่างมี
สิ่งใดที่มีปัญหาก็ให้มาปรึกษากับอธิการ การจัดวาง
สายงานต่าง ๆ นั้นได้ถูกจัดให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
เช่น การจัดระบบการจราจร รถรับส่งนักเรียนชั้นอนุบาล
และชั้นอื่น ๆ ให้มี ความปลอดภัยและมีระเบียบมากขึ้น
สิ่งที่น่าประทับใจ
คือการก่อสร้างอาคารส่ง เหล่าสุนทร และพิธีเปิด
นับว่าเป็นภาระที่หนักใจมาก แต่อธิการก็ได้บริหารโดยมีมาสเตอร์วรศักดิ์
ชูเชิด
ซึ่งมี ความรู้เรื่องการก่อสร้างเป็นอย่างดี
เป็นผู้ช่วยควบคุมดูแลนอกจากนี้การจัดแบ่งห้อง
ในการทำงานของครู และห้องเรียนของนักเรียนให้มีระบบและระเบียบมากยิ่งขึ้น
การตกแต่งภายนอกของอาคารส่งและบริเวณหน้าตึกเรียนอธิการได้ประชุมปรึกษากับคระครู
ว่าเห็นควรจะปลูก ต้นไม้ประเภทอะไรมาประดับให้อาคารส่งสวยงามร่มเย็น
และให้ร่มเงาได้ต่อไป
ในอนาคต ดังจะเห็นได้ในปัจจุบัน ถึงความร่มเย็นและร่มเงาของต้นไม้ที่มีอยู่รอบๆ
อาคารตึกส่ง
พิธีเปิดอาคารส่ง เหล่าสุนทร อธิการและคณะ
ครูแต่ละฝ่ายได้ร่วมกันจัดและสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
เป็นที่น่าประทับใจมาก กับภราดาทุกท่านที่ได้มาร่วมงาน
ในพิธีเปิดครั้งนั้นการปฏิบัติหน้าที่ทางการงานในเวลา
ที่ทำงานจะทำอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถอย่างเช่นนักวิชาการ
ซึ่งบางครั้งจะมองดูว่าอธิการเป็นคนเครียด
แต่ถ้านอกเวลาทำงาน อธิการจะเป็นกันเองกับครูทุกคน
จะพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ท่านมักจะมีอารมณ์ขัน
อยู่เสมอ
ใครก็ตามที่ได้ใกล้ชิดและทำงานกับท่านจะรู้
ได้ทันทีว่าอธิการคนนี้ไม่ชอบรับฟังเรื่องอะไรไร้สาระ
และบางคราวท่านจะพูดเตือนสติให้ผู้นั้นรู้ตัวอยู่เสมอ
อีกเรื่องหนึ่งคือการมีชีวิตที่เรียบง่ายยึดหลักที่สำคัญคือ
ความประหยัดและนี่คือภาพพจน์ของอธิการชูชาติ
ลิมปิสุวรรณโชติในตลอดเวลาที่ท่านอยู่บริหารโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
|


อธิการประสิทธิ์
ไชยเผือก ( 2528 - 2532 )
อธิการประสิทธิ์
ไชยเผือก คนจันทบุรี เป็นคนภาคตะวันออกด้วยกับชาวระยองจึงทำให้ท่านปรับตัวเข้ากับบุคลากร
และผู้ปกครองง่ายกว่าที่คิด การมาบริหารงานของท่านจึงมีชีวิตการทำงานที่ยาวนานที่สุดท่านหนึ่งของโรงเรียนอัสสัมชัญระยองด้วย
อธิการมชีวิตที่เรียบง่ายรักธรรมชาติชอบการปลูกต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ
จึงทำให้ท่านเป็นคนประหยัด ดังนั้นผลผลิตต่าง
ๆ จากสวนของมูลนิธิฯจะถูกนำมาดัดแปลงทำเป็นอาหารเพื่อหารายได้
ให้กับคนยากจนซึ่งเป็นหัวใจของท่าน ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นคนพูดน้อยแต่การบริหารงานของอธิการท่านนี้เฉียบขาดและจริงใจ
จึงส่งผลให้กับโรงเรียนตลอดมา ท่านมีผลงานที่เริ่มต้นการริเริมกิจการการจำหน่ายอาหาร
ของโรงเรียนเอง ซึ่งก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้ช่วยหารายได้ให้กับโรงเรียน
และในปีต่อมาก็ได้ยึดเป็นโครงการของโรงเรียนที่จะจำหน่ายอาหารเองในโรงอาหาร
การบริหารงานด้านวิชาการท่านยังยึดหลักเดิมต่อจากอธิการชูชาติ
เพียงแต่มีครูร่วมบริหารมากขึ้นกว่าเดิมคือเพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นให้เป็นไปในทางที่ดี จะเห็นได้ว่าในสมัยนี้การทำงานทุกด้านจะเป็นไปอย่างราบเรียบ
เป็นยุคของความร่มรื่นยุครักธรรมชาติ หากยามใดที่มีเรื่องหนักท่านก็จะพยายามแก้ปัญหานั้นด้วยสติปัญญาที่สุขุมรอบคอบ
มีการประนีประนอมอะลุ่มอล่วยให้แก่กันเรื่องทั้งหลายจึงสงบและจบลงด้วยดีเสมอมา
โครงการด้านการก่อสร้างงานชิ้นใหญ่ของท่านคือ
การก่อสร้างอาคารเดอ มงฟอร์ต ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนของนักเรียนอนุบาลและถึงแม้ในบางครั้งท่านต้องล้มเจ็บลงเพราะสุขภาพ
ไม่ค่อยดี แต่การบริหารงานของท่านก็นับได้ว่าเป็นช่วงที่ทำให้โรงเรียนมีบรรยากาศแห่งความสงบร่มรื่น
ร่มเย็น
|


อธิการอาจิณ
เต่งตระกูล ( 2533 - 2538)
ตลอดระยะเวลา
6 ปี เต็มที่อธิการอาจิณ เต่งตระกูล ได้เข้ามาบริหารงานโรงเรียนอัสสัมชัญระยองท่านได้ทุ่มทั้งกายและใจ
เพื่อที่จะพัฒนาโรงเรียนอัสสัมชัญระยองให้เจริญดังจะเห็นขั้นตอนงานที่เห็นได้เป็นรูปธรรม
ท่านได้พัฒนาอาคารสถานที่โดยได้ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด
ปรับเปลี่ยนทาสีให้ดูใหม่ จัดบรรยากาศรอบๆ
โรงเรียนให้ดูร่มรื่น ปรับสถานที่หน้าโรงเรียนให้มีสวนหย่อม
ทำให้เจริญหูเจริญตาแก่ผู้ปกครองและกับทุกคนที่ได้เข้ามาในโรงเรียน
และด้วยนิสัยรักความสะอาดที่มีอยู่ในตัวท่านเป็นทุนเดิม
จึงเป็นเหตุหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน ว่าช่วง
6 ปี ที่ท่านบริหารในโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
นอกจากความร่มรื่นของต้นไม้แล้วก็คือความสะอาด
เพราะท่านจะใส่ใจและดูแลเรื่องความสะอาดนี้เป็นพิเศษ
นอกจากความสะอาดแล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือความมีระเบียบวินัย
อธิการท่านจะเน้นมากในเรื่องของความเป็นระเบียบ
ดังนั้นงานทุกฝ่ายจะถูกจัดให้เป็นระบบและเป็นไปตามขั้นตอน
การพัฒนางานวิชาการเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลท่านเล็งเห็นว่าเด็กอนุบาลเป็นฐานหลักของเด็กใน
ชั้นประถม เพราะถ้ามีนักเรียนในระดับอนุบาลมากก็จะทำให้เด็กประถมมากเช่นกัน
ท่านจึงทำโครงการปรึกษาไปยังคณะเซนต์คาเบรียล
เพื่อขอสร้างอาคารเรียนอนุบาลเพิ่มเติม และได้ให้บริษัทซินครอนจำกัด
เป็นู้ออกแบบให้ และห้างหุ้นส่วนพัฒนาพานิชย์ทำการก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน 5,850,000 บาท ในเงินจำนวนนี้ได้รับความช่วยเหลือ
จากมูลนิธิเซนต์คาเบรียลจากศิษย์เก่าและผู้ปกครอง
วันเสาร์ที่ 7
ธันวาคม พ.ศ. 2531 ได้ฤกษ์การวางศิลาฤกษ์
โดย มีฯพณฯ พลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์ ได้ให้เกียริติมาเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์ครั้งนั้น
และงานก่อสร้างก็ได้เสร็จสิ้น เมื่อวันที่
27 เมษายน พ.ศ. 2534 คุณพ่อเทียนชัย สมานจิต
ทำพิธีเสกอาคารและท่านรองผู้ว่า
ฯ จังหวัดระยอง นายประพันธ์ ชลวีระวงศ์ ทำพิธีเปิดอาคารเดอมงฟอร์ตให้เป็นทางการและเนื่องด้วยท่านเห็น
ว่าอาคารเดอ มงฟอร์ต น่าจะสร้างเพิ่มเติมได้อีกเพื่อความสมบูรณ์
กว่าเดิม ดังนั้นในปี พ.ศ. 2535 อธิการจึงได้ทำสัญญากับ
บริษัทเดชบุญเพ็ชรเพื่อก่อสร้างอาคารเดอร์
มงฟอร์ตพร้อมบ้านพักคนงานในวงเงิน 4,672,396
บาท และในที่สุดอาคารเดอ มงฟอร์ตก็เป็นอาคารเรียนของนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลทีทันสมัยมีห้องเรียนที่ครบวงจร
และมีห้องสมุดที่กว้างขวางสามารถให้ทั้งครู
และนักเรียนได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าหาความร
ู้ได้อย่างเพียงพออธิการอาจิณ เต่งตระกูลเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์ที่กว้างไกลและการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง
ของท่านดังนั้นอะไรก็ตามที่จะทำให้อัสสัมชัญระยองมีการ
พัฒนาไปในทางที่ดีท่านจะทำทันที ดังเช่นจะมีการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน
โดยจัดให้มีอบรมสัมมนางานวิชาการทั้งในและนอกสถานที่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก
ๆ ปี ท่านจะ
ไม่ปิดกั้นความสามารถของคุณครู หากใครมีความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษ
และส่งผลให้นักเรียนได้รับความรู้ความสามารถนั้นท่านจะช่วยส่งเสริม
ดังเช่น การเรียน Computer ก็เป็นการปูพื้นฐานขึ้นครั้งแรกในสมัยท่านโดยนำ
Computer
จำนวน 50 เครื่อง สำหรับนักเรียนอนุบาล มีการนำเครื่องดนตรีคาซิโอจำนวน
50 เครื่อง เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนในระดับนักเรียนชั้น
ป.1 - ป.4 งานริเริ่มการจัดโบว์ลิ่ง และงาน
Charity Night ซึ่งเป็นการจัดเพื่อหารายได้มาพัฒนางานโรงเรียน
ติดตั้งสัญญาณโทรทัศน์จาก
ต่างประเทศ งานด้านจริยธรรมและคุณธรรมได้ริเริ่มให้มีการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งประจำป
ีในวันแม่ และเป็นวันฉลองศาสนนามของโรงเรียน
งานริเริ่มจัดให้ครูและนักการภารโรงมีอาหารกลางวันรับประทานฟรีตลอดปีการศึกษา
จะเห็นได้ว่างานพัฒนาของอธิการมุ่งเน้นความก้าวหน้า
ทางด้านการศึกษาควบคู่กับความมีคุณธรรม พร้อมที่จะให้เด็กนักเรียนทุกคนที่ออกไปได้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
|


ภราดา
ดร.อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ (
2539 - 2544)
ผู้ช่วยอัคราธิการ
ศิริชัย ฟอนซิภา ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง เป็นประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยแต่งตั้งให้
ภราดา ดร. อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
เมื่อปี พ.ศ. 2539 สืบต่อจากท่านอธิการอาจิณ
เต่งตระกูล
การอุทิศตนเพื่อเจริญรอยตาม จิตตารมณ์ และงานที่นักบุญหลุยส์
มารีผู้ตั้งคณะ ฯ ได้มอบไว้ให้ ดังนั้น การเข้ามาบริหารงานของภาราดา
ท่านนี้จึงได้มีการปรับเปลี่ยน รูปงานด้วยความหวังที่ต้องการให้
โรงเรียนได้เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่ดีที่สุดในทุกด้าน
ให้เป็นผู้นำในด้านวิชาการ โดยมุ่งเน้นในเรื่องภาษาต่างประเทศ
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มีหลักสูตรการสอนแบบกึ่งนานาชาติ
มีการจัดการบริหารองค์กรอย่างมีระบบ และงานพัฒนาที่เป็นผลงานในด้านต่าง
ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาชุมชนดังนี้
ด้านอาคารสถานที่ มีทั้งงานก่อสร้างและปรับปรุงได้พัฒนาที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า
โดยการปลูกป่าเป็นการคืนธรรมชาติ สร้างธรรมชาติรอบบริเวณโรงเรียน
สร้างเรือนเพาะชำ ทำโครงการเรือนเกษตรปลอดสารพิษ
ติดตั้งพัดลมให้กับนักเรียนทุกห้อง ปรับเปลี่ยนห้องทำงานแยกออกเป็นสำนักงาน
และฝ่ายต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อแยกการทำงานให้มประสิทธิภาพ
ได้ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ก่อสร้างที่ทำการสมาคมผู้ปกครอง
ฯลฯ ด้านบุคลากร ด้วยความฝันที่อยากเห็นบุคลากร
ทุกคนในโรงเรียนฝักใฝ่ในวิทยาการสมัยใหม่
มีการพัฒนาความรู้ความสามารถในหน้าที่การงานอย่างมสุนทรียภาพ
มีความรอบรู้ที่จะพัฒนา เยาวชนไทยให้มีความรู้ที่กว้างไกล
เพื่อที่จะเป็นกุญแจสำคัญ ในการสร้างสรรค
์สังคมให้ดีต่อไป จึงได้มีการพัฒนาครู เจ้าหน้าที่
พนักงานโดยสนับสนุนให้ครูศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
ส่งครูศึกษาต่อด้านภาษาอังกฤษ ณ
ประเทศอินเดีย สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ พนักงานในโรงเรียนได้ศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับที่ตนมีอยู่
และ เพื่อนำโรงเรียนเข้าสู่การประกันและรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
ของกระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ
การดำเนินการ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะผู้ดำเนินการ
ผลจากความตั้งใจของคณะกรรมการ
การวางแผนของผู้บริหาร การกระจายข้อมูลว่าด้วยการประกันคุณภาพ
การทดสอบ
บุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องของการทำประกันฯ
จึงทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญระยองได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาตามที่กระ
ทรวงได้กำหนดไว้ ก็ผ่านพ้นไปได้ในวาระนั้น
การศึกษาการวิจัยเป็นหนึ่งในงานหลักของการพัฒนาโรงเรียน
ในด้านของ
การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา
ในเดือน ตุลาดคม 2540 ร่วมกับ ABAC POLL จัดทำวิจัยแบบสำรวจในเดือนพฤษภาคม
2542 จัดตั้งศูนย์วิจัย และในเดือน มกราคม
2543 ร่วมด้วย ABAC POLL จัดทำวิจัยแบบสำรวจ
(ครั้งที่ 3 ) งานพัฒนาวิชาการ 2539 - 2543
เป็นช่วงของการปรับปรุงหลักสูตร ให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นการเรียนการสอนช่วงนั้นทั้งผู้เรียนและ
ผู้สอนต่างก็มีความตื่นตัวเพื่อปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานการ
ศึกษาอยู่ตลอดเวลา และได้มีโครงการริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกคือโครงการ
LENS โครงการ Bilingual โดยจัดการเรียนการสอน
เป็นภาษาอังกฤษ ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ตลอดระยะเวลา 6 ปีเต็ม ที่ผู้อำนวยการภราดา
ดร. อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ เข้ามาบริหารงาน
ได้อุทิศตนทั้งกาย และใจ บริหารงานด้านต่างๆ
ด้วยความวิริยะอุตสาหะ จึงทำให้ โรงเรียนอัสสัมชัญระยองในสมัยนั้น
เป็นสถาบันอันทรงคุณค่า ที่ เพียบพร้อมด้วยบรรยากาศ
สภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นแหล่งพัฒนาเยาวชนให้เป็นผลเมืองที่สมบูรณ์แบบ
มีประสิทธิภาพ และจะได้เป็นกำลังที่สำคัญของชาติต่อไป
|


ภราดาพิสูตร
วาปีโส (2544
- 2549)
ปี
2545 ภราดา พิสูตร วาปีโส ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ
โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง และ ภราดา จักรกรี
อินธิเสน เป็นรองผู้อำนวยการ มีทั้งครูไทยและครูต่างชาติ
เป็นครูไทย 160 คน ครูต่างชาติ 13 คน นักเรียน
อนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมประมาณ 2,657
คน
ด้วยความมุ่งมั่นของคณะภราดาที่เข้ามาบริหารงานในโรงเรียนอัสสัมชัญระยองแต่ละท่าน
ต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ที่จะให้สถานศึกษามีการจัดองค์กร
โครงสร้างและการบริหารอย่างเป็นระบบ ครบวงจร
ให้บรรลุเป้าหมาย ของมูลนิธิฯงานพัฒนาของภราดา
พิสูตร วาปีโส เป็นงานพัฒนาที่สานต่อจากสมัย
ภราดา ดร. อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ อยู่หลายโครงการ
เนื่องจากท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ในสมัยของ
ภราดา ดร. อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ งานพัฒนาที่ท่านได้เสนอโครงการไว้จึงได้นำมาพัฒนาพร้อมกับโครงการใหม่ในระหว่างปี
2545 และ 2546 ดังนี้
งานพัฒนาด้านอาคารสถานที่
- ปี 2543 ก่อสร้างอาคารหลุยส์มารี
- ปี 2544 ก่อสร้างอาคารเกียรติยศ
- ปี 2545 ปรับปรุงอาคารอัสสัมชัญ
- ปี 2546 ปรับปรุงอาคารเซราฟิน
- ปี 2546 ก่อสร้างทางเข้าพร้อมหลังคาเชื่อมอาคารเซราฟินถึงอาคารพระจิตเจ้า
- ปี 2546 ปรับปรุงพื้นผิวสนามบาสเกตบอลอาคารมารีย์
ให้เป็นสนามเทนนิส
- ปี 2546 ปรับปรุงพื้นที่ทางเท้า ทำโต๊ะ
เก้าอี้สนาม และปลูกต้นไม้รอบบริเวณโรงเรียน
เปลี่ยนโต๊ะเก้าอี้สนาม นักเรียนใหม่ ชั้น
ป.1 - ป.3 และ ม. 1
- ปี 2546 ปรับปรุงบ้านพักภราดา
- ปี 2546 ปรับปรุงอาคารโรงพละให้เป็นห้องประชุมที่ทันสมัยจุผู้เข้าประชุมได้ประมาณ
600 คน
งานพัฒนาด้านบุคลากร
เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์
พันธกิจและเป้าหมายที่โรงเรียนได้กำหนดไว้
และเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพในการทำงานของบุคลการและนำความรู้มาพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
งานด้านบุคลากรที่ท่านได้พัฒนา จึงมีผลการดำเนินงาน
ตามโครงการอาทิเช่น
ด้านการพัฒนาตนเอง
- ส่งเสริมครูศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และโท
- ส่งครูศึกษาด้านภาษาอังกฤษที่ประเทศอินเดีย
- ส่งครูศึกษาด้านภาษาอังกฤษที่ประเทศนิวซีแลนด์
- ให้ครูเรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา เพื่อเข้ารับการทดสอบ
PET ,KET
พัฒนาด้านบุคลากร เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
- บุคลากรทุกคนเข้าร่วมสัมมนา Working together
เพื่อการทำงานร่วมกัน
- ครูทุกคนเข้าร่วมอบรม การบริหารจิต การทำสมาธิ
พัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานโดยมีสวัสดิการอาหารกลางวัน
จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงครูที่ไปอบรมนอกสถานที่
หรือการไปสัมมนาศึกษาดูงาน ตัดชุดแบบฟอร์มเสื้อสูทและชุดกีฬาให้กับบุคลากรทั้งโรงเรียนพร้อมกับมอบของขวัญ
เงินโบนัสและรางวัลประจำปีให้กับบุคลากรทุกคนอย่างถ้วนหน้า
ฯลฯ
งานด้านการวิจัยและพัฒนา
โรงเรียนอัสสัมชัญระยองเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมและศักยภาพในทุกด้าน
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้
ท่านผู้อำนวยการภราดาพิสูตร วาปีโส ให้ปรับปรุงศูนย์วิจัยและพัฒนาขึ้นใหม่
โดยให้มีระบบงานชัดเจน ขึ้นในโรงเรียน มีบุคลากรทางด้านการวิจัยเพื่อดำเนินงานวิจัยทั้งภายในและภายนอก
และระดับมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลให้เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บ
รวบรวม อ้างอิง แล้วเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพส่วนโครงการที่กำลังดำเนินการในช่วงปีการศึกษา
2546 ได้แก่
- โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา
- โครงการทำเนียบงานวิจัย
- โครงการชมรมนักวิจัยรุ่นจิ๋ว
- โครงการการวิจัยเชิงสำรวจระดับมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
- โครงการวิจัยในชั้นเรียน
งานพัฒนาระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยี
พระราชบัญญัติการศึกษา
ปีพุทธศักราช 2542 เน้นการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาต้องสร้างบรรยากาศ
ให้เหมาะแก่การศึกษาหาความรู้ให้กับผู้เรียน
ตลอดจนสื่อการเรียนทีทันสมัยที่ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้
เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา
ปีพุทธศักราช 2542 จึงมีแผนพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี
ในโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง ปีการศึกษา 2545
- 2547 ที่ปรากฏแก่สายตามชุมชนคือ ได้จัดทำ
Homepage โรงเรียน การใช้อินเตอร์เน็ตในการเรียนการสอน
รับส่งงานผ่านอินเตอร์เน็ต ห้องสมุด Multimedia
สนับสนุนให้ครูมีคอมพิวเตอร์ใช้ทุกคน ขยายจุดบริการอินเตอร์เน็ต
(หยอดเหรียญ /บัตรรูด) ฯลฯ
งานด้านวิชาการ
ในปีการศึกษา
2545 ยังใช้หลักสูตรเดิมของปีการศึกษา 2544
โดยปรับมาใช้ในปีการศึกษา 2545 การเตรียมงานของฝ่ายวิชาการเพื่อใช้ในปีการศึกษา
2546 ได้เตรียมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญ
ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544 ซึ่งปรับเปลี่ยนจากหมวดวิชา กลุ่มการเรียนรู้
เป็น 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ใน แต่ละ ช่วงชั้น
หลักสูตร 12 ปี และได้เริ่มใช้ ในปีการศึกษา
2546 สำหรับชั้นที่เริ่มต้นใช้ในครั้งแรก
คือ ชั้น ป. 1 , ป. 4 , ม. 1 และ ม. 4
งานพัฒนาทุกด้านของ
ท่านผู้อำนวยการภราดา พิสูตร วาปีโส ที่ได้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
เป็นที่น่าภาคภูมิใจและน่าชื่นชมยินดีกับผู้ปกครองทั่วไปยิ่งนัก
พร้อมกับ ได้ให้ความไว้วางใจส่งบุตรหลานเข้ามารับการศึกษาในโรงเรียนอัสสัมชัญระยองแห่งนี้
ท่านยังคงทำงานเพื่อสร้างสรรค์อัสสัมชัญระยองให้ก้าวหน้าต่อไป
|