โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง ตั้งอยู่เลขที่ 131 หมู่ 2 ถ. สุขุมวิท ต. เนินพระ อ. เมือง จ.ระยอง 21000 ปัจจุบันมี ภราดา 3 ท่าน ครูทั้งหมด 145 คน นักการ 61 คน นักเรียนชาย 2,437 คน นักเรียน หญิง 74 คน ทางโรงเรียนได้เปิดรับ นักเรียนหญิงในระดับชั้นอนุบาล และมัธยมปลาย มีอาคารเรียน ทั้งหมด 6 อาคาร นอกจากอาคารเรียนแล้วยังมี อาคารสระว่ายน้ำ 1 อาคาร หอพักนักเรียนประจำและ อาคาร สมาคมผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และโรงอาหารโรงเรียน อัสสัมชัญระยองเป็นสถานศึกษาลำดับที่ 9 ของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ. ศ. 2506 จากคำบอก เล่า และบทความเดิมทำให้ทราบความเป็นมาของโรงเรียนอัสสัมชัญระยองโดยประมาณว่า เมื่อปี พ.ศ. 2506 จังหวัดระยอง มีเพียง 3 อำเภอ 2 กิ่ง คืออำเภอเมืองระยอง อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลง กิ่งอำเภอ บ้านฉาง และกิ่งอำเภอวังจันทร์ จากสภาพเขตการปกครองจังหวัดระยองเป็นจังหวัดเล็กอันดับสองของ จังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีประชากรตอนนั้นประมาณ 300,000 คน ก่อนที่โรงเรียน อัสสัมชัญระยองเปิด 3 ปี ช่วงนั้นเศรษฐกิจ และการศึกษาของจังหวัดระยองยังขาดความเจริญซบเซา
ไม่ได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมใน หลาย ๆ จังหวัดที่อยู่ในภาคเดียวกัน ในปีการศึกษา 2506 ซึ่งเป็นปี
ที่โรงเรียนอัสสัมชัญระยองก่อตั้งขึ้นในจังหวัดนี้ โดยท่านผู้ว่าฯ ส่ง เหล่าสุนทร ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ว่า ราชการจังหวัดระยอง พันตำรวจเอกสม อุบลศรี เป็นผู้กำกับ พันตำรวจโทฑีฆายุ บุญทียกุล เป็นรอง ผู้กำกับ ทั้งสองท่านได้เป็นที่ปรึกษาของท่านผู้ว่าฯ ส่ง เหล่าสุนทร ทั้งสามท่าน นี้มีส่วนสำคัญต่อการ
ให้กำเนิดโรงเรียนอัสสัมชัญระยองเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะท่านผู้ว่าฯ ส่ง เหล่าสุนทร หากปราศจาก
ท่าน แล้วก็จะไม่มีโรงเรียนอัสสัมชัญระยองเกิดขึ้นในจังหวัดนี้อย่างแน่นอนท่านมีความมุ่งหวังที่จะ
สร้าง โรงเรียนใหม่ขึ้นเพราะท่านมอง เห็นการศึกษาปัจจุบันของจังหวัดระยองยังล้าหลังอยู่มาก เพื่อ ให้จังหวัดระยองมีความเจริญเท่าเทียมกับจังหวัดอื่น ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะเห็นเยาวชนในจังหวัด ระยองมีความ ตื่นตัวในการศึกษา มีโรงเรียนที่เป็นผู้นำในการศึกษา เพื่อที่จะได้พัฒนาท้องถิ่นของตน เจริญก้าวหน้าและด้วย ความมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของท่านผู้ว่าฯ ส่ง เหล่าสุนทร จึงได้ตัดสินใจ สร้างโรงเรียน ด้วยความตั้งใจจริงของท่านผู้ว่าฯ จึงได้ปรึกษา กับราชการหลายท่าน อาทิเช่น พันตำรวจเอกสม อุบลศรี และพันตำรวจโทฑีฆายุ บุญทียกุล ท่านได้บอกความ มุ่งหมายและจุดประสงค์ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นให้ ทุกคนทราบ แต่ยังหาใครที่จะมาบริหารโรงเรียนที่จะสร้าง ใหม่นี้ได้ดี ตามที่ท่านมีความมุ่งหวังไว้ ท่านรองผู้กำกับ พันตำรวจโทฑีฆายุ บุญทียกุล ท่านเป็นอัสสัมชัญชนิก ได้เสนอให้คณะบราเดอร์เซนต์คาเบรียลมาดำเนินกิจการ ของโรงเรียน จึงเป็นที่พอใจและเห็นชอบ กับผู้ว่าฯ ส่ง เหล่าสุนทร เพราะท่านได้ยินถึงกิตติศัพท์ความมีชื่อเสียง ของโรงเรียนในคณะนี้มาก่อน
แล้ว ท่านจึงได้เริ่มดำเนิน การที่จะติดต่อกับคณะภราดาเซนต์คาเบรียลเพื่อที่จะให้ มีโรงเรียนอัสสัมชัญ ในจังหวัดของท่านให้ได้การติดต่อกับคณะเซนต์คาเบรียลนั้นเต็มไปด้วย ความยากลำบากมาก เพราะ จังหวัดระยองไม่ได้อยู่ในโครงการ ที่จะก่อตั้งโรงเรียนของคณะ และเป็นจังหวัดที่อยู่ไม่ห่าง ไกลจาก
โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรีเท่าไร และเหตุผลที่สำคัญคือ คณะภราดาไม่มีทุนในการ ก่อสร้างอาคารเรียน ดังนั้นการติดต่อจึงใช้เวลาเกือบ 4 ปี ท่านผู้ว่าฯเดินทางติดต่อไป ๆ มา ๆ เพื่อติดต่อ อยู่หลายครั้ง ก็ประสบความสำเร็จ เมื่อภราดายอห์นเมรี่อธิการเจ้า คณะแขวงเซนต์คาเบรียลตกลงใจ รับเป็นผู้บริหารกิจการ ของโรงเรียนแห่งใหม่นี้

             ที่ดินสร้างโรงเรียน ท่านผู้ว่าฯ ส่ง เหล่าสุนทร นัดประชุมที่ปรึกษา ร่วมด้วยนายเขียว โสภณ เป็น ศึกษาธิการจังหวัด ผู้กำกับสม อุบลศรี และรองผู้กำกับ ฑีฆายุ บุญทียกุล คณะที่ประชุมเห็นชอบ ยกป่าสงวน แห่งชาติเพียงส่วนหนึ่งให้เพื่อสร้างโรงเรียน เพราะหาแห่ง อื่นไม่ได้ ถึงจะมีที่อื่นที่คิดว่า เหมาะส กว่าแต่ก็เรียก ค่าตอบแทนสูง หรือไม่ก็เรียกร้องสิทธิต่าง ๆ มากมาย สถานที่ที่จะก่อตั้งโรงเรียน ต้องไม่ห่างไกลจากชุมชนจนเกินไป การคมนาคมสะดวกพอสมควร และที่ป่าสงวนเหมาะที่สุด เพราะอยู่ ห่างจากระยองเพียง 6 กิโลเมตร ติดกับถนน สุขุมวิท อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 216 และที่ 215 เนื้อที่ ทั้งหมดที่ให้ 120 ไร่ แต่ได้แบ่งให้กับโรงเรียน เซนต์โยเซฟ เป็นโรงเรียนหญิงคณะซิสเตอร์เซนต์ปอล เสียส่วนหนึ่ง ภายหลังโรงเรียนอัสสัมชัญระยองได้ซื้อ เพิ่มเติมอีก
             ป่าสงวนแห่งชาติมีลักษณะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ต้นไม้ใหญ่มีเพียงเล็กน้อยเช่นต้นยางและสัตว์ที่ มีพิษ อาศัยอยู่อย่างชุกชุมเช่น งูกะปะ และยุงก้นปล่อง เพราะ ระยองเป็นจังหวัดที่มีชายทะเลจึงมีสัตว์มี พิษดังเช่นงูกะปะ ส่วนยุงก้นปล่อง ก็ทำให้มีโรคระบาดมีผู้ป่วยเป็นโรค มาลาเลียอยู่เสมอ ๆ ที่ดินที่จะ สร้างโรงเรียนอัสสัมชัญ ระยองเมื่อมีการไถปรับเตรียมก่อสร้าง จะเห็นได้ว่าด้าน ข้างจะเป็นป่าสงวน แห่งชาติ ทางด้านหลังจะเป็นทุ่งนา เล็ก ๆ ถัดไปก็จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ส่วนด้านที่ติดกับ ถนนสุขุม
วิท จะมีหมู่บ้านเรียกว่าหมู่บ้านหนองสนม ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่กันแบบไทยแท้ เพราะบ้านแต่ละหลังอยู่ ห่างไกลกัน และก็จะอยู่ไกลกับอาคารร้านค้า ไม่มีการ สัญจรไปมาในตัวเมือง เพราะการสัญจรเป็นไป
อย่างลำบาก จะเข้าจะออกต้องระวังถ้าตกรถเมื่อไรก็ต้อง เดินกลับอย่างเดียว สรุปคือว่ารอบ ๆ โรงเรียน เป็นหมู่บ้านชนบท เรื่องน้ำไฟ และหนทางที่สะดวกสบาย ยังเป็นแค่ความฝันที่ห่างไกลมาก ในตอนนั้น

อธิการซีเมออน 2506 -2508
             การก่อสร้างอาคารหลังแรกอาศัยความร่วมมือ จากหน่วยราชการเกือบทุกอย่าง การบุกเบิกป่า สงวน แห่งชาติเป็นไปได้ด้วยดี โดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ก็ได้เริ่มก่อสร้าง โรงเรียน มีอาคารเรียนคือตึกอัสสัมชัญ เป็นตึกคอนกรีตสามชั้น มีห้องเรียน 18 ห้องเรียน ใช้เพียง 13 ห้องเรียน อาคารบ้าน พักบราเดอร์ เป็นตึกคอนกรีตสองชั้น 1 หลัง บ้านพักยุวนิส เป็นไม้สองชั้น 1 หลัง และยังมีอาคารอื่น ๆ อีก การก่อ สร้างครั้งนั้นผู้ควบคุม คือภราดาซีเมออน (ชาวฝรั่งเศส) ซึ่งคณะนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการอัสสัมชัญศรีราชา อาคารต่าง ๆ สร้างเกือบเสร็จเรียบร้อย วันที่ 7 พฤษภาคม
พ. ศ. 2506 ได้มีการแต่งตั้ง ให้ภราดา ซีเมออน มาเป็นอธิการ โรงเรียนอัสสัมชัญ ระยอง องค์แรก
ต้นเดือนพฤษภาคมปีการศึกษา 2506ในวันแรก ของการเปิดรับสมัครนักเรียนปีการศึกษานั้น มีนักเรียน
มา สมัครเรียน 20 คน โรงเรียนได้ติดป้ายรับสมัครนักเรียน ไว้หน้าโรงเรียนด้วยแผ่นป้ายเล็ก ๆ มีความ สูงประมาณ 1เมตร ตอนนั้นยังไม่มีรั้ว เนื้อความประกาศว่ารับสมัคร นักเรียน ชั้นป.1- ป.7 และวันต่อๆ มา ก็มีนักเรียน มาสมัคร เพิ่มเรื่อยๆ จนถึงวันเปิดเรียนวันแรก ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2506 มี นักเรียนทั้งหมด 580 คน ซึ่งก็เกินความคาด หมายของท่านอธิการที่ ต้องการเพียง 300 คนก่อน เท่านั้นก่อน
ผู้ทำการบุกเบิกยุคแรกมี ภราดา 5 ท่าน ครู 16 คน
1. ภราดาซีเมออน อธิการโรงเรียน
2. ภราดาภักดี ทุมกานนท์ ครูใหญ่และอธิการยุวนิส
3. ภราดาสมหมาย ตรีถาวร
4. ภราดาสรชัย สุขชัย
5. ภราดาประเสริฐ อานามนารถ
คณะครูชุดแรก
ม.ทองหยด สุวรรณประกาศ
ม.ฤาชัย บริราช
ม.บุญเพ็ง ศรีสุนทร
ม.พิชัย อัมพุสุวรรณ
ม.อุทัย ธนระ
ม.โกเมศ ชลมาศ
ม.สมาน อุ่นประเสริฐ
ม.อนนท์ ลีลายุทธ์
ม.วรเทพ เอี่ยมตระกูล
ม.สินชัย อ่อนไสว
ม.ชาญณรงค์ โตชูวงค์
มีสสุธินี พุฒิธนะสุนทร
ม.วารี ภัทรกุล มีสนัยนา
นาวาประดิษฐ์
ม.สมัย ทองไสว
มีสระวีวรรณ ธงชัย
จำนวนครู 16 ท่านนี้เป็นอัสสัมชัญชนิก 9 ท่าน ถ้ารวมบราเดอร์ก็จะรวมเป็น 14 ท่าน
              ในวันมอบโฉนดที่ดินโรงเรียนให้กับตัวแทนมูลนิธิเซนต์คาเบรียลประธานคือท่านผู้ว่าฯ ส่ง เหล่าสุนทร วันนั้น มีแขกผู้มีเกียรติหลายท่านประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คณะภราดาจากคณะ เซนต์คาเบรียล พ่อค้าและ ประชาชน จากคำบอกเล่าว่าวันนั้นท่านมีความภาคภูมิใจมากที่มีวันนี้ ท่าน
ได้กล่าวว่ารู้สึกภูมิใจมากในสิ่งที่ท่านได้ฝันไว้ ขณะนี้ผลสำเร็จได้เกิดขึ้นแล้ว ท่านยังให้ความหวังกับ ชาวจังหวัดระยองต่อไปอีกว่า นักเรียนสำเร็จจากสถาบัน นี้เป็นคนดี มีคุณธรรม จะนำความก้าวหน้า
ความเจริญมาสู่จังหวัดระยองต่อไปในอนาคต ช่วงแรก ๆ ครูส่วนมากจะพัก อยู่ภายในโรงเรียน โดย ใช้ห้องเรียนเป็นห้องนอน เนื่องจากการสัญจรไปม ยากลำบากมาก ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ปี 2506 ทางโรงเรียนได้สร้างบ้านพักครูขึ้นหลังหนึ่งปัจจุบันนี้บริเวณบ้านพักนั้นคือหอประชุมหรือโรงพละ และสร้าง สนามบาสเกตบอลอยู่หลังอาคารอัสสัมชัญ ปีการศึกษา 2508 มีนักเรียน 920 คน เปิดเรียน ตั้งแต่ชั้น ป.1 - ม.ศ. 2 จึงทำให้อาคารเรียนหลังแรกไม่พอสำหรับนักเรียน แต่ช่วงปี 2507 ทางโรง
เรียน ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นหลังหนึ่ง เพื่อใช้เป็นชั้นเรียนให้กับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 (ใน
ปัจจุบันคือสวนหย่อมสำหรับเด็กอนุบาล) ต่อมาได้สร้าง อาคารเพิ่มขึ้นอีก 1 หลังตัวอาคารเป็น 3 ชั้น ขณะที่กำลังก่อสร้างอยู่ เป็นช่วงที่อธิการซีเมออนย้ายไปรับตำแหน่ง อธิการอัสสัมชัญ ศรีราชา