Chapter 3 : Animation แบบ Frame by frame

การสร้างภาพเคลื่อนไหว/Animation ด้วยโปรแกรม Flash

       การสร้างภาพยนต์ หรือภาพเคลื่อนไหวใด ก็คือการสร้างอิริยาบถของภาพให้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา เช่น การวาดการ์ตูนลงกระดาษแต่ละใบให้มีอิริยาบถแตกต่างกันไป เมื่อนําการ์ตูนทุกภาพมาแสดงอย่างรวดเร็ว ก็จะทําให้ภาพมีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว

       เมื่อมีการนําคอมพิวเตอร์มาใช้สร้างสรรค์ภาพยนต์ หรือภาพเคลื่อนไหว เฟรมก็เปรียบเสมือนกระดาษแต่ละใบ ที่มีการวาดอิริยาบถของการ์ตูนลงไป และ Timeline ก็คือช่วงเวลาที่ใช้ควบคุมการนําเสนอ ดังนั้น Frame และ Timeline จึงเป็นส่วนสําคัญอีกส่วนในการสร้างภาพเคลื่อนไหวของ Flash

 

Timeline เปรียบเสมือนเวลาที่ใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว หรือ Movie โปรแกรมจะแบ่งช่วงให้หน่วยละ 5 ช่วงเวลา
เฟรม คือช่องเล็กที่เรียงต่อกันตามช่วงเวลา แต่จะช่องเปรียบเสมือนกระดาษ 1 แผ่นที่วาด Movie 1 อิริยาบถ และเปลี่ยนไปทุกๆ เฟรม เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของวัตถุ

 

 

 

 

 

 

 

 

เฟรม และคีย์เฟรม (Frame & Keyframe)

คีย์เฟรม คือ การกําหนดตําแหน่งการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีเนื้อหาภายในแตกต่างกันไปโดยตําแหน่งเฟรมใดที่ต้องการกําหนดให้มีสถานะเป็น Keyframe ให้ใช้คําสั่ง Insert --->Timeline ---> Keyframe หรือกดปุ่ม F6
เฟรม คือ การกําหนดตําแหน่งภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่นการทําฉากหลัง โดยตําแหน่งเฟรมใดที่ต้องการกําหนดให้มีสถานะเป็น Frame ให้ใช้คําสั่ง Insert --->Timeline ---> frame หรือกดปุ่ม F5

 

 

 

 

 

 

 

การเคลื่อนไหวชนิดภาพต่อภาพ (Frame By Frame Animation)

       เป็นการแสดงภาพแต่ละภาพที่เรียงต่อกันอย่างต่อเนื่อง จนดูเหมือนว่าภาพนั้นมีการเคลื่อนไหว ซึ่งเราจะทำการ Import ภาพที่เราจะสร้าง มาไว้ใน Frame แต่ละ Frame การเปลี่ยนแปลงของภาพแต่ละภาพที่เรียงอย่างต่อเนื่องในลักษณะนี้ เหมาะสำหรับการทำ Animation ที่ซับซ้อน ่มีการเคลื่อนไหวลักษณะท่าทางมาก เช่น ดอกไม้บาน, การงอกของต้นไม้, การบินของนก, การเดินของสัตว์ เป็นต้น ซึ่งจะใช้ภาพจำนวนมาก โดยที่แต่ละ Frame  จะใส่ภาพในลักษณะท่าทางต่าง ๆ 1 ภาพ ทำให้เสียเวลา แต่จะทำให้ภาพมีการเคลื่อนไหวที่เหมือนจริง

 

ตัวอย่างการทำ Animation แบบ Frame by frame

 

เป็นการสร้าง Animation ให้วงกลมกระเด้งจากด้านซ้ายมาด้านขวา และด้านขวากลับมาด้านซ้าย และทำซ้ำไปซ้ำมาเรื่อย ๆ

  1. คลิ๊กเฟรมที่ 1 ใช้ Oval tool วาดวงกลมไว้ริมซ้ายสุดของ Stage
  2. คลิ๊กเฟรมที่ 3 กดปุ่ม F6 ใช้ Selection tool ย้ายวงกลมให้เลื่อนขึ้นไปอยู่กึ่งกลางด้านบน
  3. คลิ๊กเฟรมที่ 5 กดปุ่ม F6 ใช้ Selection tool ย้ายวงกลมให้เลื่อนลงมาทางด้านล่างขวาสุด
  4. คลิ๊กเฟรมที่ 7 กดปุ่ม F6 ใช้ Selection tool ย้ายวงกลมให้ย้อนกลับไปด้านหลังตรงกึ่งกลางด้านบน
  5. คลิ๊กเฟรมที่ 9 กดปุ่ม F6 ใช้ Selection tool ย้ายวงกลมให้ย้อนกลับไปตำแหน่งตอนเริ่มต้นด้านซ้ายสุด
  6. กดปุ่ม Ctrl+Enter เพื่อทดสอบผลลัพธ์

 

 

 

 

ผลลัพธ์ของ Animation

 

 

…

การใช้ Onion Skin

       ตามปกติขณะสร้างเนื้อหาให้กับเฟรม เราจะมองเห็นเฉพาะภาพของเฟรมปัจจุบัน แต่เมื่อใช้ Onion skin เราจะสามารถมองเห็นภาพของเฟรมอื่น ๆ ไ้ด้ด้วย ซึ่งมีประโยชน์ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by frame มาก เพราะจะทำให้ทราบว่าในเฟรมปัจจุบัน เราจะต้องปรับให้ออบเจ็คเคลื่อนไหวไปแค่ไหนและอย่างไร เมื่อเทียบกับเฟรมก่อนหน้าและเฟรมถัดไป อักทั้งในการใช้ Onion skin เราสามารถเลือกที่จะแก้ไขเฉพาะภาพในเฟรมปัจจุบัน หรือแก้ไขเฟรมอื่น ๆ ไปพร้อมกันก็ได้