รูปแบบการวาดภาพ
การวาดภาพจากโปรแกรม Flash สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การวาดภาพแบบ Shape
2. การวาดภาพแบบ Object Drawing
ี้
1) การวาดแบบ Shape รูปทรงที่วาดจะมีผลต่อรูปทรงอื่น เช่น เมื่อนำรูปทรงที่มีพื้นเป็นสีเดียวมาซ้อนทับ ก็จะถูกรวมเป็นชิ้นเดียวกัน แต่หากมีสีแตกต่าง เมื่อเคลื่อนย้ายส่วนที่ถูกซ้อนทับก็จะหายไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถวาดได้ด้วยการคลิกยกเลิกปุ่ม Object Drawing
2) การวาดแบบ Object Drawing ซึ่งรูปทรงทั้งในส่วนของเส้นและพื้นผิวจะกลายเป็นชิ้นเดียวกัน หากนำมาซ้อนทับก็จะไม่ส่งผลทำให้รูปทรงเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปแต่อย่างใด โดยสามารถวาดได้โดยการคลิกปุ่ม Object Drawing ซึ่งจะปรากฏกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมาเมื่อเลือกหรือวาดรูปทรงเสร็จ
การกำหนดคุณสมบัติของรูปทรง
เริ่มต้นก่อนที่จะวาดภาพใด ๆ อาจกำหนดค่าคุณสมบัติเกี่ยวกับส่วนของเส้นและพื้นของรูปทรง แล้วจึงเลือกปุ่มเครื่องมือ เพื่อวาดภาพต่างๆ ก็ได้ ซึ่งค่าคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นดังนี้
Stroke Color สีเส้น
Stroke Height ความหนาของเส้น
Stroke Style รูปแบบของเส้น
Custom Stroke Style เลือกกำหนดรูปแบบเส้นเอง
Cap รูปแบบของปลายเส้น สำหรับรูปทรงแบบปลายเปิด โดยมีให้เลือก 3 แบบ ดังนี้
- None ปลายเส้นมีลักษณะเป็นเส้นตัดพอดีกับความยาวของเส้น
- Round ปลายเส้นมีลักษณะโค้งมน
- Square ปลายเส้นมีลักษณะเป็นเส้นตัดออกมา
Fill Color สีพื้น
Stroke hinting ช่วยลดการเบลอในส่วนโค้งของเส้นตรง
Scale ความหนาของเส้นที่สัมผัสกับมุมมอง
Miter ความแหลมของมุม โดยจะสัมพันธ์กับรูปแบบของมุมที่กำหนดไว้ในช่อง Join
Join รูปแบบของมุม โดยมีให้เลือก 3 แบบ ดังนี้
- Miter มุมแหลม
- Round มุมโค้งมน
- Beval มุมตัด
การวาดเส้น
การวาดเส้นสามารถแบ่งได้เป็นการวาดเส้นตรงด้วย Line Tool และการวาดเส้นอิสระด้วย Pencil Tool โดยสีที่ปรากฏขึ้นมาจะเป็นสีที่เลือกไว้ในช่อง Stroke Color
1) การวาดเส้นตรงด้วย Line Tool
การวาดเส้นตรงจะมีรูปแบบการทำงานที่ง่าย เพียงเลือกกำหนดสี ขนาดความหนา และลวดลาย จากส่วนของ Properties ก่อนจากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
คลิกปุ่ม Line Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม N จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยน เป็น +
คลิกเมาส์ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่ม
ลากเมาส์มายังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏเส้นตรงขึ้นมา โดยสามารถกดปุ่มค้างไว้ในขณะลากเมาส์ได้ ดังนี้
ปุ่ม Shift เปลี่ยนทิศทางของเส้นไปครั้งละ 45 องศา
2) การวาดเส้นอิสระด้วย Pencil Tool
การวาดเส้นอิสระด้วย Pencil Tool ผลงานที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับการใช้ดินสอวาดภาพลงบนกระดาษ โดยสามารถเลือกปรับให้เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือเป็นเส้นอิสระได้
คลิกปุ่ม Pencil Tool ที่พาเนล หรือกดปุ่ม Y จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น +
- Straighten ปรับให้เป็นเส้นตรง
- Smooth ปรับให้เป็นเส้นโค้ง โดยสามารถปรับความโค้งมนได้ที่ช่อง Smoothing ของ Properties
- Ink ไม่มีการปรับรูปแบบใดๆ ให้ภาพใกล้เคียงการวาดมากที่สุด
การวาดรูปทรงเรขาคณิต
1) วาดรูปสี่เหลี่ยมด้วย Rectangle Tool
การวาดรูปสี่เหลี่ยมด้วย Rectangle Tool จะสามารถปรับแต่งเส้น Path ด้วยปุ่มเครื่องมือ Pen ได้ แต่จะต้องกำหนดค่าความโค้งของมุมก่อนที่จะทำการวาด สำหรับขั้นตอนมีดังนี้
คลิกปุ่ม Rectangle Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม R จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น +
กำหนดค่าคุณสมบัติพร้อมทั้งความโค้งของมุมทั้ง 4 ของรูปสี่เหลี่ยมลงใน Properties โดยในที่นี้ใช้ค่า 0 ซึ่ง จะได้เป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก
คลิกเมาส์ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
ลากเมาส์ทแยงไปยังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปสี่เหลี่ยมขึ้นมา โดยสามารถกดปุ่มค้างไว้ในขณะลากเมาส์ได้ ดังนี้
ปุ่ม Shift วาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ปุ่ม Alt วาดรูปสี่เหลี่ยมออกมาจากศูนย์กลาง
ปุ่ม เพิ่มความโค้งของมุม
ปุ่ม ลดความโค้งของมุม
2) วาดรูปสี่เหลี่ยมพร้อมปรับแต่งรูปทรงด้วย Rectangle Primitive Tool
เมื่อวาดรูปสี่เหลี่ยมด้วยปุ่ม Rectangle Primitive Tool จะปรากฏจุดควบคุมขึ้นมา ซึ่งช่วยให้สามารถปรับแต่งรูปทรงในภายหลังได้ และหากกดปุ่มต่างๆ ค้างไว้ก็จะให้ผลเช่นเดียวกับการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้วยปุ่ม Rectangle Tool
คลิกปุ่ม Rectangle Primitive Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม R จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น +
คลิกเมาส์ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
ลากเมาส์ทแยงไปยังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปสี่เหลี่ยมพร้อมทั้งจุดควบคุมขึ้นมา ซึ่งสามารถพิมพ์เปลี่ยนค่าความโค้งของมุมทั้ง 4 ลงใน Properties หรือให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4
คลิกปุ่ม Selection Tool ที่ทูลพาเนล หรือจะกดปุ่ม V
คลิกบริเวณมุมของรูปสี่เหลี่ยม ลากเมาส์เข้า-ออกเปลี่ยนความโค้งมนของมุม ได้ตามต้องการ
3) วาดรูปวงกลมด้วย Oval Tool
การวาดรูปวงกลมจะสามารถกำหนดค่าคุณสมบัติต่างๆ พร้อมทั้งค่ามุมเริ่มต้น มุมสุดท้าย และรัศมีวงกลมใน รวมถึงกำหนดให้เป็นรูปทรงแบบปิดหรือแบบเปิดที่มีเฉพาะเส้นก็ได้
คลิกปุ่ม Oval Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม O จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยน เป็น +
กำหนดค่าคุณสมบัติพร้อมทั้งค่ามุมเริ่มต้น มุมสุดท้าย และรัศมีวงกลมในของรูปวงกลม ลงใน Properties โดยในที่นี้ใช้ค่า 0 ซึ่งจะได้เป็นรูปวงกลม/วงรี
คลิกเมาส์ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
ลากเมาส์ทแยงไปยังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปวงกลมขึ้นมา
ปุ่ม Shift วาดรูปวงกลม
ปุ่ม Alt วาดรูปวงกลมออกมาจากศูนย์กลาง
ปุ่ม Alt ค้างไว้และคลิกลงบนสเตจ เพื่อกำหนดค่าในการวาดรูปวงกลมที่มีขนาดแน่นอน
4) วาดรูปวงกลมพร้อมปรับแต่งรูปทรงด้วย Oval Primitive Tool
สำหรับรุปวงกลมที่สร้างด้วยปุ่ม Oval Primitive Tool จะสามารถเลือกกำหนดค่าคุณสมบัติหรือเลือกปรับแต่งรูปทรงจากจุดควบคุมที่ปรากฏขึ้นมาในภายหลังก็ได้
คลิกปุ่ม Oval Primitive Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม O จากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น +
คลิกเมาส์ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
ลากเมาส์ทแยงไปยังตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปวงกลมพร้อมทั้งจุดควบคุมขึ้นมา ซึ่งสามารถพิมพ์เปลี่ยนค่าลงใน Properties หรือให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4
คลิกปุ่ม Selection Tool ที่ทูลพาเนล หรือจะกดปุ่ม V
คลิกที่จุดควบคุม
ลากเมาส์ขึ้น-ลง เพื่อปรับมุมเริ่มต้น
คลิกที่จุดควบคุม
ลากเมาส์ขึ้น-ลง เพื่อปรับมุมสุดท้าย
คลิกที่จุดควบคุม
ลากเมาส์เข้า-ออก เพื่อปรับรัศมีของวงกลมด้านใน
5) วาดรูปหลายเหลี่ยม/รูปดาวด้วย PolyStar Tool
สำหรับปุ่ม PolyStar Tool จะช่วยให้สามารถวาดรูปหลายเหลี่ยมหรือรูปดาวได้ตามต้องการ โดยสามารถกำหนดด้านหรือแฉกได้ตั้งแต่ 3-32 ด้าน
คลิกปุ่ม PolyStar Tool ที่ทูลพาเนลจากนั้นตัวชี้เมาส์จะมีลักษณะเปลี่ยนเป็น
ที่ Properties ให้คลิกปุ่ม จากนั้นปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Tool Settings ขึ้นมา
ที่ช่อง Style ให้คลิกเลือกรูปแบบของรูปทรง โดยมีรายละเอียดดังนี้
polygon วาดรูปหลายเหลี่ยม
star วาดรูปดาว
พิมพ์จำนวนด้าน/แฉกลงในช่อง Number of Sides โดยพิมพ์ค่าได้ตั้งแต่ 3-32
พิมพ์ค่าความลึกของแฉกดาวลงในช่อง Star point size โดยพิมพ์ค่าได้ตั้งแต่ 0-1 ซึ่งค่า 0 รูปดาวจะมีความแหลมมากที่สุด
คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันคำสั่ง
คลิกเมาส์ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น
ลากเมาส์ทแยงออกมาจากจุดศูนย์กลาง เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะปรากฏรูปหลายเหลี่ยม/รูปดาว ขึ้นมา
การใช้แปรงพู่กัน
Brush Tool เปรียบเสมือนแปรงพู่กันที่ใช้วาดภาพลาดเส้นหรือระบายสีลงบนรูปทรงต่างๆ โดยสามารถกำหนดขนาดของหัวแปรง ลักษณะของหัวแปรง และรูปแบบในการระบายสีได้ด้วย
1) วาดภาพลายเส้นด้วย Brush Tool
การวาดเส้นอิสระด้วย Pencil Tool สีที่ปรากฏขึ้นมาจะเป็นสีเส้น (Stroke) แต่สำหรับการวาดภาพลายเส้นด้วย Brush Tool จะใช้สีพื้น (Fill) แทน สำหรับขั้นตอนมีดังนี้
คลิกปุ่ม Brush Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม B
คลิกปุ่ม Brush Size ค้างไว้ และเลือกขนาดของหัวแปรง
คลิกปุ่ม Brush Shape ค้างไว้ และเลือกลักษณะของหัวแปรง
ลากเมาส์วาดรูปทรงที่ต้องการ โดยสามารถกดปุ่ม Shift ค้างไว้ เพื่อวาดเส้นตรงในแนวตั้งหรือแนวนอน
2) ระบายสีด้วย Brush Tool
นอกจากการวาดภาพลายเส้นแล้ว Brush Tool ยังสามารถใช้ระบายสีได้อีก โดยหากกำหนดขนาดและลักษณะของหัวแปรงเรียบร้อยแล้ว ก็ยังสามารถเลือกรูปแบบในการระบายสีได้ด้วย
คลิกปุ่ม Brush Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม B
คลิกปุ่ม Brush Mode ค้างไว้ แล้วเลือกรูปแบบในการระบายสี
Paint Normal ระบายทับเส้นและพื้นของรูปทรง
Paint Fills ระบายทับเฉพาะส่วนของพื้นโดยไม่มีผลต่อเส้น
Paint Behind ระบายเป็นพื้นหลังโดยไม่มีผลต่อรูป
Paint Selection ระบายเฉพาะพื้นของบริเวณที่เลือกโดยไม่มีผลต่อเส้นและพื้นหลัง
Paint Inside ระบายภายในขอบเขตของพื้นที่ด้านใน
ลากเมาส์ระบายสีลงบนรูปทรงได้ตามต้องการ
การลบรูปทรง
การลบด้วยปุ่ม Eraser Tool จะสามารถเลือกลบทั้งรูปทรงหรือเลือกลบเฉพาะเส้นหรือพื้นก็ได้ อีกทั้งยังสามารถเลือกเปลี่ยนขนาดและลักษณะของหัวยางลบได้อีกด้วย
1) ลบรูปทรงด้วย Eraser Tool
เมื่อเลือกลบรูปทรงด้วย Eraser Tool จะมีรูปแบบในการลบเพิ่มขึ้นมาให้เลือก เช่น สามารถลบเส้นและพื้น ลบเฉพาะพื้น ลบเฉพาะเส้น ลบเฉพาะส่วนที่เลือก หรือลบเฉพาะขอบเขตของพื้นที่ด้านในก็ได้ สำหรับขั้นตอนมีดังนี้
คลิกปุ่ม Eraser Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม E
Eraser Normal ลบเส้นและพื้นของรูปทรง
Eraser Fills ลบเฉพาะส่วนของพื้นโดยไม่มีผลต่อเส้น
Eraser Lines ลบเฉพาะส่วนของเส้นโดยไม่มีผลต่อพื้น
Eraser Selected Fills ลบเฉพาะพื้นของบริเวณที่เลือกโดยไม่มีผลต่อเส้น
Eraser Inside ลบภายในขอบเขตของพื้นที่ด้านใน
คลิกปุ่ม Eraser Shape ค้างไว้ และเลือกขนาดของหัวยางลบ
ลากเมาส์ลบบริเวณพื้นที่ที่ต้องการ
2) ลบเส้น/พื้นด้วย Eraser Tool โดยใช้ปุ่ม Faucet
ไม่เพียงแต่การลบในรูปแบบปกติเท่านั้น แต่หากต้องการลบเส้นหรือพื้นของรูปทรงอย่างรวดเร็ว ก็สามารถทำได้เพียงคลิกปุ่ม Faucet ไว้ก่อนเท่านั้น สำหรับขั้นตอนมีดังนี้
คลิกปุ่ม Eraser Tool ที่ทูลพาเนล หรือกดปุ่ม E
คลิกปุ่ม Faucet
คลิกลงบนเส้นหรือพื้นของรูปทรงที่ต้องการลบ
Selection [ การเลือกวัตถุ ]
วัตถุในความหมายนี้ ก็คือ รูปทรง รูปภาพ ภาพกราฟิกที่วาด หรือนำเข้ามาใช้งานใน Flash นั่นเอง การเลือกวัตถุ เป็นขั้นตอนสำคัญในการปรับเปลี่ยน แก้ไข แปลงวัตถุ โดยโปรแกรมเตรียมเครื่องมือเลือกวัตถุดังนี้
สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกวัตถุใน Flash ก็คือ อย่าลืมว่าวัตถุทุกชิ้นเกิดจาก “จุด” หลายๆ จุดมาประกอบรวมกัน และแต่ละวัตถุจะประกอบด้วยโครงสร้างอย่างน้อย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็น “Fill” และส่วนที่เป็น “Stroke” ดังนี้
การเลือกวัตถุ หรือกลุ่มวัตถุด้วย Selection Tool
คลิกเลือกเครื่องมือ Selection Tool
เลือกวัตถุ โดยยึดหลักดังนี้
เลือกวัตถุทั้งชิ้น นำเมาส์ไปชี้ ณ ตำแหน่งมุมของวัตถุ แล้วลากกรอบสี่เหลี่ยมคลุมวัตถุ