M33GROUP3
สาเหตุการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
เริ่มสู่สงคราม หลังการเข้ามามีบทบาทของญี่ปุ่นในเหตุการณ์นี้ เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสู่ ประเทศไทยแน่ในอนาคต รัฐบาลไทยโดย จอมพล ป. ได้รณรงค์ให้ประชาชนปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ และการ เสริมสร้าง เศรษฐกิจระดับต้น ๆ อย่างเข้มแข็ง เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่นการออกพระราชบัญญัติสงวน อาชีพบางประเภท ที่ส่วนมากเป็นงานฝีมือ เฉพาะแก่คนไทย เป็นต้น และคำขวัญในครั้งนี้ก็ได้แก่ งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข บรรยากาศ โดยทั่วไปทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ประชาชนต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ในเหตุการณ์ สงครามที่อาจเกิดขึ้นในเวลา ใกล้นี้ เพลงปลุกใจจำนวนมากได้ถูกเปิดขึ้นโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โดยในครั้งนี้ส่วนมากจะเป็นเพลงมาร์ชของ เหล่าทัพต่าง ๆ ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00 น. กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานีและบางปู สมุทรปราการ และบุกเข้าประเทศไทยทางบกที่อรัญประเทศ กองทัพญี่ปุ่น สามารถขึ้นบกได้โดยไม่ได้รับการต่อต้านที่บางปู ส่วนทางภาคใต้และทางอรัญประเทศมีการต่อสู้ต้านทานอย่าง หนักของทหารไทย ประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครที่เป็นเยาวชน ที่เรียกว่า ยุวชนทหารในบางจังหวัด เช่นการรบที่สะพานท่า นางสังข์ จังหวัดชุมพร กล่าวคือกลุ่มยุวชนทหารและกองกำลังผสมทหารตำรวจซึ่งกำลังจะต่อสู้ปะทะกันอยู่ที่สะพานท่านางสังข์ โดยที่กลุ่มยุวชนทหารนั้นมีผู้บังคับการคือร้อยเอกถวิล นิยมเสน ในระหว่างการสู้รบร้อยเอกถวิลนำกำลังยุวชนทหารออกมาปะทะ กองทหารญี่ปุ่น แม้ร้อยเอกถวิลจะถูกทหารญี่ปุ่นยิงเสียชีวิต แต่ยุวชนทหารยังคงสู้ต่อไปจนกระทั่งรัฐบาลสั่งหยุดยิง เมื่อเวลา 11.00 น. โดยประมาณ เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นทราบว่ากลุ่มยุวชนทหารหลายคนเป็นเพียงนักเรียนมัธยม จึงส่งหนังสือเชิดชูความกล้าหาญมายัง กระทรวงกลาโหม และร้อยเอกถวิล นิยมเสน ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพันโท ส่วนการเชิดชูเกียรติของยุวชนทหารผู้เสียชีวิตและผู้ร่วม ต่อสู้ในครั้งนั้น มีอนุสาวรีย์อยู่ที่ริมสะพานท่านางสังข์ เป็นรูปยุวชนทหารพร้อมกับอาวุธปืนยาวติดดาบปลายปืน ในท่าเฉียงอาวุธ ยืนอยู่บนแท่น สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2524 แล้วทำหนังสือมอบให้เป็นสมบัติของจังหวัดชุมพร
เว็บเพจผลงานนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 กลุ่มที่ 3
โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง เว็บเพจนี้ใช้เพื่อนำเสนอเืนื้อหา