เนื้อหาสาระ

 

อื่นๆ

 

หน้าหลัก
แบบทดสอบ
สมาชิก

ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1
 
            ผลสำคัญอย่างหนึ่งคือ มีการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ทำให้ประเทศมหาอำนาจสูญเสียดินแดนของตัวเองเป็นจำนวนมาก 
 
           - จักรวรรดิออสเตรีย- ฮังการี แตกออกเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย 
           
           - จักรวรรดิออตโตมานล่มสลายไป แผ่นดินเดิมของจักรวรรดิบางส่วน ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย 
 
           - เยอรมัน ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล 
 
           - จักรวรรดิรัสเซีย ได้สูญเสียดินแดนชายแดนด้านตะวันตกจำนวนมาก กลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนียและโปแลนด์ 
 
           ขณะเดียวกัน ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่มีสมาชิกหลายประเทศ โดยมีจุดประสงค์อยู่ที่การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูตสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าร่วมรบ ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลกเสรีเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส ส่วนรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม ต่อมาสามารถขยายอำนาจไปผนวกกับแคว้นต่าง ๆ เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922
 
           ส่วน สนธิสัญญาแวร์ซาย ที่ร่างโดยฝ่ายชนะสงครามให้กับเยอรมนีและสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับให้กับพันธมิตรของเยอรมนีนั้น ก็เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม แล้วต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหารกับอาวุธ และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดน จนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญา แต่เนื่องจากประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงเกิดการต่อต้านในหลายประเทศ เช่น การก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมันและเผด็จการทหารในญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาต่อมา ประเทศมหาอำนาจทั้ง 3 ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (Axis) มีการจัดตั้งองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยและสันติภาพของโลกในอนาคต


 

เว็บเพจผลงานนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 กลุ่มที่ 5
โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง เว็บเพจนี้ใช้เพื่อนำเสนอเนื้อหาในการเรียนสร้างเว็บเพจ