---เนื้อหา---

 

 

 

 

 

 

 

ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ภายหลังสงคราม ประเทศไทยได้แก้สนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก

เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ฯลฯ

ที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ นอกจากนี้ ประเทศไทยยัง

ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติอีกด้วย

กองทหารไทยในดินแดนเยอรมนี
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 ไทยตั้งตัวเป็นกลาง จนกระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.

2460 ไทยจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และได้ส่งทหารอาสาสมัครไปช่วยรบ 1,284 คน

ทั้งนี้รวมทั้งนายและพลทหาร สมทบกับนักเรียนไทยในนานาประเทศอีกประมาณ 400 คน

รวมทหารอาสาสมัครทั้งหมดประมาณ 1,600 คน

ทหาร อาสาออกเดินทางเมื่อ พ.ศ. 2461 ถึงประเทศฝรั่งเศสอยู่ใต้บัญชาการของนายพล เปแตง

ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ไปปฏิบัติการในสมรภูมิประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม

ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น มีความสำคัญดังนี้

  1. เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของประเทศ

  2. ได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสนธิสัญญาแวร์ซาย

  3. เมื่อสงครามสงบได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกประเภทริเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติ เป็นหลักประกันเอกราชและความปลอดภัยของประเทศ

  4. ได้แก้ไขสัญญาที่ทำไว้แต่รัชกาลที่ 4 เป็นผลสำเร็จ ยกเลิกสัญญาต่าง ๆ ที่ไทยทำกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และทำสัญญากับประเทศต่าง ๆ ใหม่

  5. ได้ยึดทรัพย์จากเชลย

  6. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์ เพื่อนำไปใช้ในกองทัพไทยที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

  7. สร้างอนุสาวรีย์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา วงเวียน 22 กรกฎา สมาคมสหายสงคราม เป็นต้น

  8. มีการจัดทหารแบบยุโรป และเริ่มจัดตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรก

 

เว็บเพจผลงานนัีกเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3/1