หลุยส์
มารี เป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ท่านเกิดในครอบครัวคาทอลิก
เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1673 ( พ.ศ.2216 ) ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ
แห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า มงฟอร์ต ชูเมอ เมื่อรับศีลล้างบาป
ท่านมีชื่อว่า หลุยส์ กรีญอง ต่อมา เมื่อรับศีลกำลัง ท่านได้เพิ่ม
มารี เข้ากับชื่อของท่าน เพราะท่านมีความรักเป็นพิเศษต่อพระแม่มารีอา
เป็นหลุยส์ มารี กรีญอง และหลังจากที่ท่านได้บวชเป็นพระสงฆ์แล้ว
ท่านได้เพิ่ม เดอ มงฟอร์ต ต่อท้ายชื่อของท่าน เป็น หลุยส์ มารี กรีญอง
เดอมงฟอร์ต สุดท้ายเพื่อแสดงว่าท่านสละทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งชื่อเสียงและวงศ์ตระกูล
ท่านเรียกตัวท่านเองสั้น ๆ ว่า เดอ มงฟอร์ต
ชีวิตครอบครัว
บิดาของท่านมีที่ดิน และมีอาชีพเป็นทนายความ แต่หาเงินได้ไม่มากนัก
ท่านดำเนินชีวิต เป็นคริสตชนที่ดี ปฏิบัติตามหลักศาสนา แต่เป็นคนอารมณ์ร้อน
ท่านได้แต่งงานกับ ญาณ โรแบร์ ผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีความร่ำรวย
ฐานะดี นางเป็นคนใจศรัทธา ( มีน้องชายบวชเป็นพระสงฆ์ 3 องค์ ) และขยันทำงาน
มีความมุมานะ พี่ชายสองคนแรกของท่านได้เสียชีวิต หลังจากเกิดได้
5 เดือน ท่านจึงเป็นบุตรคนโต ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 18 คน เป็นชาย
8 คนและหญิง 10 คน หลุยส์ฯ เป็นเด็กที่เรียนเก่ง มีนิสัยดีและศรัทธาในพระเจ้า
ท่านประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อน้อง ๆ ทั้งชายและหญิง ช่วยบิดา
ในด้านการดูแลและเรื่องการเล่าเรียนของน้อง ๆ ช่วยมารดา ในหน้าที่ปลอบใจในยามทุกข์
ช่วยสอนน้อง ๆ ในเรื่องศาสนาและการภาวนา เนื่องจากท่านอุทิศตนให้กับพระแม่มารี
มารดาพระเยซูเจ้า ท่านมีความรักต่อคนยากคนจน และช่วยพวกเขาทุกครั้งเท่าที่จะสามารถช่วยได้
ท่านนับถือความยากจน ท่านทะเยอทะยานที่จะช่วยคนยากจนทั้งด้านจิตใจและวัตถุ

ชีวิตการศึกษา
ในปี 1685 บิดาท่านได้ส่งท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนของคณะเยสุอิต
ที่เมืองแรนน์ เพื่อการศึกษา ในด้านมนุษยศาสตร์ ครูทุกท่านรักและชมเชยท่านในด้านความขยัน
ความเอาใจใส่ และทุก ๆ สิ้นปีท่านจะได้รับรางวัลต่าง ๆมากมาย ท่านพยายามฝึกฝนด้านคุณธรรม
ท่านพยายามทำแต่ความดีเท่าที่ท่านสามารถทำได้ เพื่อเป็นการพักผ่อนจากการเรียน
หลุยส์ กรีญอง จะเรียนวาดเขียน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยท่านออกแบบจำลองรูปพระเล็ก ๆ ท่านวาดภาพได้สวยงามมาก วันหนึ่งท่านสมาชิกสภาท่านหนึ่งได้เดินทางไปที่บ้านท่าน
และได้เห็นภาพพระกุมารกำลังเล่นอยู่กับนักบุญยอห์น เดอ บัปติส ท่านจึงบริจาคเงินยี่สิบฟรังค์ทอง
ให้กับหลุยส์ กรีญอง เพื่อนำไปช่วยคนยากจน
การเดินทางตามกระแสเรียก
เมื่อหลุยส์ กรีญอง เรียนวิชาปรัชญาจบ ขณะที่ท่านอายุได้ 20 ปี และในปี
ค.ศ. 1693 ท่านได้ขออนุญาตจากบิดาของท่าน เพื่อมาเรียนเทวศาสตร์
ที่กรุงปารีส ในความอุปถัมภ์ของสตรีใจบุญ ผู้หนึ่งในกรุงปารีส ชื่อ
คุณนาย เดอ มองตินยี เนื่องจากว่าท่านคุณนายเคยไปอยู่ที่เมืองแรนน์
ระยะหนึ่ง โดยพักอาศัยที่บ้านบิดาของหลุยส์ ขณะติดพันคดีที่แคว้นบริตานี่
นอกจากนี้คุณนายยังขอน้องสาวคนหนึ่ง ไปเลี้ยงที่ปารีสด้วย โดยส่งเสียค่ากินค่านอนให้
หาครูมาสอน อ่าน เขียน และเย็บปักถักร้อยทุกวัน ต่อมาภายหลังน้องสาวของท่านคนนี้ได้ไปบวชเป็นซิสเตอร์

บิดามารดาของท่านต้องการให้ท่านขี่ม้าไปปารีส
เพราะระยะทางไกล ประมาณ 300 กิโลเมตร แต่ท่านเองกลับเลือกเดินทางด้วยเท้า
พร้อมกับแบกสัมภาระไว้บนหลัง ในขณะที่ท่านกำลังจะออกเดินทางเพื่อแพร่ธรรมแบบนี้
ทั้งลุงที่เป็นพระสงฆ์ และน้องชายที่เดินทางมาส่งถึงสะพานแซลซองได้มีการร่ำลา
การข้ามสะพานครั้งนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างใหญ่หลวง ในชีวิตของหลุยส์
กรีญอง เพราะเนื่องจากท่านได้สละชีวิตครอบครัว และทรัพย์สินฝ่ายโลก
เพื่อจะอุทิศตนเป็นของพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว “ พระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว
“ จึงกลายเป็นคติธรรมประจำใจท่าน ท่านตัดขาดอย่างสิ้นเชิง จากครอบครัวและยึดมั่นในพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว
นอกจากนี้ท่านยังคุกเข่า และสาบานว่าท่านจะไม่ครอบครองสิ่งใด ๆ เลยในชีวิตของท่าน
จากนั้นท่านก็หยิบสายประคำออกเดินทางและสวดภาวนาเสมอมา โดยมอบเงินให้กับขอทานคนแรกที่ท่านพบตามทาง
และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับขอทานคนต่อมา สุดท้ายท่านไม่กังวลเกี่ยวกับในวันรุ่งขึ้นอีกต่อไป
เมื่อท่านได้ละทิ้ง ทุกสิ่งทุกอย่าง และท่านหวังว่าพระเป็นเจ้าจะประทานพระพรให้ท่าน
ชีวิตในบ้านเณร
มาถึงปารีส หลุยส์ กรีญองเข้ามาอยู่บ้านเณรและเป็นสุขอยู่กับผู้ก่อตั้ง
อธิการบ้านเณร คือ คุณพ่อบามองดิเอ เป็นบรรยากาศที่เรียบง่าย ยากจน
และส่งเสริมจิตวิญญาณ ท่านใช้เวลาในการสวดภาวนา และอ่านหนังสือที่ท่านศรัทธา
ท่านฝึกด้านพลีกรรมเช่นการอดอาหาร หลุยส์ กรีญอง มีชีวิตในโลกของตัวเอง
ท่านไม่สามารถพูดคุยกับเพื่อน ๆ อย่างสนุกสนานเฮฮา และเมื่อพูดคุยก็จะคุยแต่เรื่องพระเยซู
และพระนางมารีอา ต่อมาผู้อุปถัมภ์หลุยส์ กรีญอง ไม่สามารถส่งค่าที่พักได้
อธิการบ้านเณรของท่านอนุญาตให้ขอบริจาคและหารายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ
จากการเฝ้าศพ ของผู้ตายก่อนที่จะนำไปฝัง
หลุยส์
กรีญอง พบกับปัญหาอีกครั้ง เมื่อคุณพ่ออธิการบ้านเณรเสียชีวิต และบ้านเณรต้องปิดลง
ถึงกระนั้นท่านไม่วิตกกังวลอะไร ท่านเขียนจมหมายถึงคุณลุงที่เป็นพระสงฆ์ว่า
“ อะไรที่เกิดขึ้น ผมจะไม่กังวล ผมมีพระบิดาอยู่ในสวรรค์ ผู้ซึ่งคอยช่วยเหลือผม
“ เณรต้องแยกย้ายกันไป หลุยส์ กรีญอง ได้รับเลือกไปอยู่บ้านเณรของคุณพ่อบูเช
เพราะหลุยส์ กรีญองเป็นผู้ที่เรียนเก่งและเป็นคนที่มีความศรัทธา
แต่สภาพความเป็นอยู่ของบ้านเณรมีความยากจนมาก แต่ไม่นานนัก หลุยส์
กรีญอง ก็ล้มป่วย ท่านถูกส่งเข้าโรงพยาบาล หลุยส์ กรีญอง เกือบเสียชีวิต
แต่ด้วยอัศจรรย์ท่านเริ่มมีสุขภาพดีวันดีคืน และสุดท้ายท่านก็ออกจากโรงพยาบาล
มาดาม คาแลคเกอ เป็นสุขภาพสตรีท่านหนึ่งที่สัญญาจะช่วยค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่จะให้เข้าอยู่บ้านเณร
แซง ซูลปิส ที่มีชื่อเสียงมากในปารีสในขณะนั้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่เหลือท่านได้จากการเข้าช่วยงานในโบสถ์
ที่เมืองนังต์ ในที่สุดความใฝ่ฝันของ หลุยส์ กรีญอง ที่จะเข้าศึกษาที่เมืองแซง
ซูปิส ก็บรรลุผล หลุยส์ กรีญองได้รับการพิจารณาว่าเป็นบุคคลที่แปลกและแตกต่าง
จากเณรอื่น ๆ เพราะท่านใช้เวลาส่วนใหญ่จากการภาวนา การพลีกรรมและความสันโดษ
อธิการบ้านเณรได้แต่งตั้งให้หลุยส์ กรีญองเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดของบ้านเณร
ท่านได้ใช้โฮกาสจากการรับหน้าที่นี้อย่างเต็มที่ จากการอ่านหนังสือจำนวนมากมาย
โดยเฉพาะหนังสือพระคัมภีร์ หนังสือที่เกี่ยวกับพระแม่มารี และหนังสือศรัทธาอื่น
ๆ ท่านทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดอย่างเต็มความสามารถ
หลุยส์
กรีญอง มีเป้าหมายของชีวิต และท่านต้องการเป็นนักเทศน์เรื่องความรักของพระเยซูเจ้า
ดังนั้นท่านใช้เวลานี้เพื่อการเตรียมบทเทศน์และบันทึกไว้มีถึง 400
หน้า ก่อนจะถึงพิธีบวช หลุยส์ กรีญองรู้สึกไม่คู่ควรและต้องการให้เลื่อนพิธีบวชในครั้งนี้
สุดท้ายท่านก็เข้าพิธีบวช
ชีวิตของการเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่
5 มิถุนายน ค.ศ. 1700 เพียง 16 ปี หลุยส์ กรีญองได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์
ทันที่ที่ท่านรับการบวชเป็นพระสงฆ์ หลุยส์ กรีญอง ร้อนรนที่จะเทศน์
แต่ต้องอยู่บ้านเณรเพื่อบันทึก และจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ท่านได้รับการเชิญชวนสอนที่บ้านเณร
แต่ท่านปฏิเสธข้อเสนอแนะ หลังจากนั้นท่านได้รับการขอร้องให้ไปช่วยงานฟื้นฟูจิตใจ
ในคณะธรรมทูตที่เมืองนังต์ ท่านได้ทำงานด้วยการอุทิศตนอย่างแท้จริงกับความยากจนที่โรงพยาบาลที่ปัวติแอร์
และที่ปารีส แต่โชคไม่ดีท่านถูกเข้าใจผิด ถูกกลั่นแกล้ง ในช่วงเวลาแห่งการสับสน
การถูกทอดทิ้ง และการถูกละเลยนี้เอง ท่านได้สัมผัสกับมิตรสวรรค์และสร้างผล
งานคลาสสิคขึ้นมาคือ “ ความรักแห่งองค์ปัญญานิรันดร์ “ในจมหมายฉบับหนึ่ง
ท่านเขียนไว้ว่า “ ขณะนี้ผมมีเพื่อนคนเดียวคือพระเป็นเจ้า “

การเข้าเฝ้าสันตะปาปา
ท่านเดินทางด้วยเท้าเปล่า จากปัวติเอร์ถึงกรุงโรมและได้เข้าเฝ้าองค์สันตะปาปา
เคลเมนท์ที่ 6 ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1760 เพื่อแสดงความประสงค์ที่จะเป็นมิชชันนารี
ทางตะวันออกไกล องค์พระสันตะปาปาได้ส่ง หลุยส์ กรีญอง ไปยังประเทศฝรังเศสของตน
ไม่ต้องไปที่ไหนอีก และได้แต่งตั้งท่านเป็น “ ธรรมฑูตขององค์สันตะปาปา
( Apostolic Missionary ) “ และสันตะปาปาเสกไม้กางเขนของท่านพร้อมกับประทานพระการุณย์บริบรูณ์
ให้ตามที่ หลุยส์ กรีญองขอด้วย ใครก็ตามที่ได้จูบไม้กางเขนนี้ ขณะที่ใกล้จะสิ้นใจ
จะได้รับพระการุณย์บริบรูณ์
หลังจากนั้นท่านก็เดินทางกลับประเทศฝรังเศส
อุทิศตนเพื่อการเทศน์ ด้วยการรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาแห่งศีลล้างบาป
มีคนกลับใจเป็นจำนวนมากและ ท่านได้บรูณะวัดที่ร้างมากมาย ท่านยังหาเวลาเขียนหนังสือ
บทเพลงต่าง ๆ และได้ตั้งโรงเรียนการกุศลสำหรับเด็กชายโดยให้คณะภราดาเป็นผู้ดำเนินกิจการ
สำหรับนักเรียนหญิงให้ซิสเตอร์คณะธิดาพระประชาญาณเป็นผู้ดำเนินกิจการ
ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับ นักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง
เดอ มงฟอร์ต
1. ท่านเกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1673
2. ท่านบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1700
3. ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ.1716
4. ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้น่านับถือ ค.ศ. 1830 ได้รับการสถาปนานักบุญเมื่อวันที่
20 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
5. เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่
2 ได้ ประกาศให้บรรจุชื่อวันฉลองของนักบุญหลุยส์ มารี ลงในปฏิทินคาทอลิก
ในวันที่ 28 เมษายน ของทุก ๆปี
6. เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1996 พระสันตะปาปา ยอห์น บอล ที่
2 ได้เสด็จเยี่ยม และภาวนาที่หลุมศพของท่านนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง
เดอ มงฟอร์ต
7. คณะนักบวชที่ท่านตั้งขึ้นมี 3 คณะ
- พระสงฆ์คณะข้าบริการพระแม่มารี
- คณะภราดาเซนต์คาเบรียล
- และภคินีคณธธิดาปรีชาญาณ
มงฟอร์ตสัมผัสพระเจ้าและความรักของพระองค์
1. เป็นองค์พระญาณสอดส่อง ( The Providence )
2. เป็นองค์พระปัญญาญาณนิรันดร์ ( The Eternal Wisdom )
3. เป็นองค์พระเยซูคริสตเจ้าเอง ( The Incarnate Wisdom ) ท่านจึงพร้อมที่จะทำทุกอย่าง
“ เพื่อพระเจ้าแต่ผู้เดียว “ ( God Alone ) “ เพื่อให้ความรักของพระเจ้าเข้าครอบครองจิตใจของเราทั้งหลาย
“ เพื่อให้พระคริสต์และกางเขนของพระองค์เข้าครอบครองจิตใจของเราทั้งหลาย
ท่านแสดงออกด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. ท่านใช้การบำเพ็ญภาวนา เข้าเงียบสม่ำเสมอ
2. ท่านยอมแบกกางเขนของตนเองด้วยความยินดี เพื่อติดตามพระเยซูเจ้า
3. ท่านถวายตัวทั้งครบแด่องค์พระเยซูเจ้า โดยผ่านทางพระแม่มารีอา
4. ท่านปฏิบัติตามพระวรสารอย่างเคร่งครัด และรักการพลีกรรม
5. ท่านรักและรับใช้คนยากจน คนป่วย คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
6. ท่านรักและให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชน
|