ในสมัยรัชกาลที่ ๑
พระสุนทรโวหาร
หรือที่รู้จักกัน ในนามของ "สุนทรภู่" เกิดเมื่อ วันจันทร์
ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนแปด ปีมะเมีย
จุลศักราช ๑๑๓๘ ซึ่งตกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่
๑ บิดาของท่านเป็นชาวบ้านกร่ำ เมือง
แกลงส่วนมารดาเป็นคนกรุงเทพฯ สันนิษฐานว่าน่าจะทำหน้าที่เป็นพระนมในพระธิดาของกรมพระราชวังบวร
สถานพิมุข ภายหลังได้แยกกันอยู่โดยไม่ทราบสาเหตุและบิดาของท่านได้กลับไปอยู่ที่เมืองแกลง
ทำให้สุนทรภู่
ต้องอยู่กับมารดาจนเติบโตขึ้นจึงได้รับการถวายตัวเป็นข้าราชบริพารในกรมพระราชวังบวรสถาน
พิมุขนั่นเองสุนทรภู่ได้เรียนหนังสือตั้งแต่ยังเล็ก ณ สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบันดังปรากฏหลัก
ฐานที่ท่านสุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศสุพรรณ ตอนที่เดินทางผ่านวัดนี้เมื่อเติบใหญ่ขึ้นได้รับราชการในกรมพระคลัง
ข้างสวนซึ่งมีหน้าที่เก็บอากรสวน และวัดระวางแต่ในที่สุดก็ต้องกลับไปอยู่ที่พระราชวังสถานพิมุขอย่างเดิม
ณ ที่นี้
จึงได้เกิดรักใคร่ชอบพอกับข้าราชบริพารหญิงชื่อ "จัน"จนต้องถูกลงอาญา
ดังที่สุนทรภู่ บรรยายไว้ในนิราศ
เมืองแกลงซึ่งสุนทรภู่แต่งขึ้นในคราวที่เดิน ทางไปพบบิดา หลังจากเกิดเรื่องราว
และพ้นโทษแล้ว ในราวปี พ.ศ.
๒๓๔๙หลังจากกลับจากเมืองแกลงสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นข้าราชบริพารในพระองค์เจ้าปฐมวงศ์และได
้แต่งงานกับแม่จันคนรักสมประสงค์แต่ชีวิตคู่ของท่านมักจะมีปัญหาเสมอเพราะสุนทรภู่ชอบดื่มสุราเมามายเป็น
ประจำซึ่งในเรื่องนี้สุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศภูเขาทอง
ในสมัยรัชกาลที่ ๒
ชีวิตของสุนทรภู่ดีขึ้นถึงขั้นเจริญรุ่งเรืองที่สุดเพราะสุนทรภู่ได้สร้างผลงานที่แสดงถึงความเป็นยอดด้าน
กลอนโดยท่านเป็นกวีผู้หนึ่งที่รัชกาลที่๒ทรงโปรดมาก เนื่องจากสามารถใช้ปฏิภาณเสนอแนะบทกลอนที่พระบาท
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชประสงค์ที่จะแก้ไขกลอนที่เป็นบทละครเรื่องรามเกียรติ์
ตอนนางสีดาผูก
คอตาย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่๑ โดยที่มีเนื้อความกล่าวถึงนางสีดาจะผูกคอตายแต่หนุมานเข้าช่วย
ไว้ได้ทันแต่บทพระราชนิพนธ์นั้นใช้กลอนถึง ๘ คำกลอนรัชกาลที่ ๒ ทรงเห็นว่าชักช้าเกินไป
ไม่ทันการณ์จึงทรงแก้
ไขใหม่เพื่อให้ดีขึ้น แต่ทรงติดขัดว่าจะพระราชนิพนธ์ต่ออย่างไรที่แสดงให้เห็นว่าหนุมานได้เข้ามาช่วยได้อย่างทัน
ท่วงทีซึ่งท่านสุนทรภู่ได้กราบทูลกลอนต่อได้ทันที สุนทรภู่คงจะได้แสดงถึงปรีชาญาณของท่านสนองพระเดชพระคุณ
อีกหลายครั้งจนในที่สุด รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น"ขุนสุนทรโวหาร"
กวีที่ปรึกษาในกรมพระอา
ลักษณ์ผลงานที่สร้างชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งในขณะนั้นคือบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
ตอนกำ
เนิดพลายงามในขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์นั้น กลับต้องตกอับลงเพราะการดื่มสุราเป็นสาเหตุถึงขั้นต้องถูกลงอาญา
ด้วยการจำคุกเป็นที่สันนิษฐานกันว่า "พระอภัยมณี" ได้เกิดขึ้นในขณะที่ถูกจำคุกครั้งนี้เองในระหว่างปี
พ.ศ. ๒๓๖๔
- ๒๓๖๗ เป็นช่วงที่สุนทรภู่พ้นจากโทษแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทราบดีถึงความสามารถของ
ท่านจึงได้โปรดเกล้าฯให้สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์เจ้าฟ้ากลาง
และเจ้าฟ้าปิ๋ว ซึ่งเป็น
พระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์จนเกิดวรรณคดีสำคัญอีก ๒ เรื่องคือ สวัสดิรักษาและสิงหไกรภพ
ในสมัยรัชกาลที่ ๓
พ.ศ.
๒๓๖๗ สิ้นรัชกาลที่๒แล้ว ชีวิตของสุนทรภู่ต้องตกระกำลำบากจนถึงขั้นถูกถอดยศและต้องหนีราชภัย
ด้วยไม่เป็นที่ทรงโปรดของรัชกาลที่ดังที่ท่านพรรณนาความไว้ในนิราศภูเขาทอง
ตอนหนึ่งจากการที่ไม่ทรงโปรดสุนทรภู่ดังหลัก
ฐานจากการที่เมื่อมีการประชุมเหล่ากวีในสมัยนั้นเพื่อร่วมกันแต่งคำประพันธ์จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามซึ่ง
ถือเป็นงานใหญ่ แต่กลับไม่มีชื่อของสุนทรภู่อยู่ด้วยเรื่องนี้สุนทรภู่ได้กล่าวไว้ในนิราศภูเขาทอง
ช่วงที่ชีวิตตกต่ำที่สุด
นั้นผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรมีความเห็นว่าคงจะเป็นช่วงปี พ.ศ.๒๓๗๑ซึ่งเป็นปีที่แต่งนิราศภูเขาทอง
เพราะเนื้อหาใจความหลายตอนที่ท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาความไว้พ.ศ. ๒๓๗๒
สุนทรภู่ได้กลับ
มาเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแก้เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋วอีกครั้งโดยท่านได้แต่งเพลงยาวถวาย
โอวาทถวาย ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๗๔ - ๒๓๗๕ เป็นช่วงที่สุนทรภู่บวชเป็นพระโดยจำพรรษาอยู่หลาย
วัดนอกจากนั้นได้ออกเดินทางไปเมืองต่างๆ และได้แต่งนิราศขึ้นเช่น
เมืองเพชรบุรีได้แต่งนิราศเมืองเพชร วัดเจ้า
ฟ้าเมืองอยุธยา เพื่อเสาะหายาอายุวัฒนะ ได้แต่งนิราศวัดเจ้าฟ้านอกจากนั้นยังได้แต่ง
นิราศอิเหนาซึ่งเป็นนิราศเรื่อง
เดียวที่ไม่ได้เขียนบันทึกการเดินทางแต่นำเอาเรื่องอิเหนา ตอนนาง
บุษบาถูกลมพายุหอบและอิเหนาออกติดตามหาแต่งพรรณนาความตามแนวที่ท่านถนัดเพื่อถวายพระองค์เจ้า
ลักขณานุคุณในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๒ -๒๓๘๓ ได้เกิดนิราศสุพรรณภายหลังจากที่ท่านเดินทางไปเมืองสุพรรณบุร
ีโดยนิราศเรื่องนี้แต่งเป็นคำประพันธ
์โคลงสี่สุภาพนอกจากนั้นยังได้แต่งเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาซึ่งเป็นคำกาพย์ที่ใช้สำหรับการสอนอ่าน
การผันสระและ
ตัวสะกดมาตราต่างๆ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตำราเรียนภาษาไทยก็ได้ รวมทั้งท่านยังได้แต่งนิทานเป็นคำกลอนเรื่อง
สิงหไกรภพ (ตอนจบ) และเรื่องลักษณวงศ์ขึ้นอีกด้วยเช่นกันพ.ศ. ๒๓๘๕
แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งนัก
วรรณคดีเชื่อว่าท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาเกี่ยวกับชีวิตของท่านมีผู้เข้าใจว่าท่านเขียนขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งผลงาน
ชิ้นสุดท้ายทั้งนี้เพราะท่านเกิดสังหรณ์ขึ้นมาว่าในขณะนั้นอาจจะเป็นวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านอีกทั้งยังเกิดนิมิต
เป็นความฝันนอกจากรำพันพิลาปแล้วยังได้แต่งนิราศพระประธมเมื่อคราวเดินทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
ในสมัยรัชกาลที่ ๔
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี
พ.ศ. ๒๓๙๔ชีวิตของท่านสุนทรภู่ได้กลับ
ฟื้นมาดีอีกคำรบหนึ่งโดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหารเจ้ากรมอาลักษณ์จากองค์พระบาทสม
เด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงชีวิตบั้นปลายของท่านกลับได้รับความเจริญรุ่งเรืองเสมือนในรัชกาลที่
๒ และได้ทำ
ให้เกิด
ผลงานขึ้นอีกหลายเรื่องได้แก่ บทละครเรื่อง อภัยนุราช เสภาพระราชพงศาวดารบทเห่เรื่องกากี
พระอภัยมณี โคบุตร
และบทเห่กล่อมจับระบำเพื่อถวายเป็นบทเห่กล่อมเจ้านายที่ทรงพระเยาว์ในที่สุดบั้นปลายแห่งชีวิตก็สิ้นสุดลงในปี
พ.ศ.
๒๓๙๘รวมอายุได้ ๖๙ ปี ท่านสุนทรภู่ถือได้ว่าเป็นกวีสามัญชนที่สร้างผลงานอันทรงคุณค่ามากที่สุดบทกลอนของท่าน
ได้เป็นแบบอย่างที่คนไทยยึดถือมาจนถึงปัจจุบันนี้นอกจากนั้นท่านยังได้ชื่อว่าเป็นกวีเอกของโลกท่านหนึ่งโดยองค์การ
ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือที่รู้จักกันในนามของ
ยูเนสโก
( UNESCO )ได้ประกาศเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกเมื่อปี พ.ศ.
๒๕๒๙ ในวาระที่ครบรอบ ๒๐๐ ปีเกิดของ
ท่าน
“ สุนทรภู่เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบ
200 ปี เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2529 ”
นับว่าท่านเป็นกวีสามัญชนคนแรกที่ได้รับการประกาศ เกียรติคุณเช่นนี้สำหรับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลสำ
คัญของชาติต่าง ๆ ในโอกาสครบรอบวันเกิด หรือวันตายที่นับเป็นศตวรรษหรือ
100 ปีขึ้นไป ของยูเนสโกนี้ก็เพื่อเป็น
การเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกของชาติต่าง
ๆ ให้ปรากฏแก่มวล
สมาชิกทั้งโลก และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกอื่น ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับ
การประกาศยกย่องเพื่อก่อให้เกิดความคุ้นเคยซึ่งกัน
และกันโดยอาศัยบุคคลสำคัญของชาติต่าง ๆ เป็นสื่อกลาง โดยบุคคลนั้น
ๆต้องเป็นบุคคลสำคัญของชาติที่มีส่วนร่วม
อย่างกว้างขวางในสากล เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม
หรือสื่อสารมวลชนซึ่งในส่วนประเทศ
ไทยยูเนสโกได้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้าน
วัฒนธรรมระดับโลก จนถึงปัจจุบันในปีนี้มีดังนี้ ฉลองวันประสูติครบ
100 พรรษา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระ
ยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ 21 มิถุนายน 2505- ฉลองวันประสูติครบ 100
พรรษา ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อ 28 เมษายน 2506- ฉลองวันพระบรมราชสมภพ
ครบ 200 พรรษา พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511- ฉลองวันพระบรมราชสมภพ
ครบ 100 พรรษา ของพระบาท
สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524

มีอยู่มากมาย
มีทั้งที่เป็น ประเภทนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศเมืองสุพรรณ
นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศพระประธม นิราศเมืองเพชร ฯ ประเภทนิทาน เช่น
โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ ประเภทบทเสภา
เช่น ขุนช้างขุนแผน พระราชพงศาวดาร ประเภทบทเห่กล่อม เช่น เห่จับระบำ
เห่เรื่องพระอภัยมณี เห่เรื่องโคบุตร
คำกลอนสอนใจให้เรารู้จักรอบคอบและระมัดระวังในการคบคน
เพราะจิตใจของมนุษย์นั้นยากที่ใครจะคาดเดาได้แม้แต่ตัวของผู้นั้นเองท่านเปรียบให้เห็นว่าแม้เถาวัลย์จะคดโค้งอย่างไร
ก็ยังเห็นไม่เหมือนใจคนและว่าน้ำใจความรักของพ่อแม่จึงจะเชื่อได้
อีกทั้งสอนว่าคนที่เราจะพึ่งพิงได้นั้นคือตัวของเรานั่นเอง
นอกจากนี้ท่านยังว่าวิชาความรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้เลี้ยงชีพต่อไปได้
แต่การมีวิชาความรู้ ก็ต้องรู้จักเอาตัวรอด
ด้วยจึงเป็นผลดี ในประโยคหลังนี้มีหลายคนไปตีความในทางลบ กล่าวว่าผู้ที่เอาตัวรอดนั้นเป็นคนเห็นแก่ตัวแต่โดยนัย
ความหมายที่แท้จริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะท่านหมายถึงการที่คนเราต้องรู้จักหาทางช่วยตัวเองด้วยสติปัญญาอย่า
ให้อับจนหนทางต่างหาก
นอกจากนี้ยังมีสุภาษิต
สำนวน คติธรรมคำสอนอีกเป็นอันมากที่เราสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างดี
เช่น โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก จงออกปากบอกแขกช่วยแบกหามการนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีด
มากรีดกินองค์พระปฏิมายังราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะพ้นคนนินทาอันรักษาศีลสัตย์กัตเวที
ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน
ทรลักษณ์อักตัญญูตาเขา เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหนหรืออย่างใน “สวัสดิรักษาคำกลอน”
ซึ่งเป็นวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่ง
ของสุนทรภู่ก็สอนถึงข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และการพูดจาเพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ตน
เช่นสอนให้ควบคุมอารมณ์ในตอนเช้าให้แจ่มใส- ว่าเช้าตรู่สุริโยอโณทัย
ตื่นนอนให้ห้ามโมโหอย่าโกรธา- แล้วเอื้อนอรรถตรัสความที่ดีก่อน จะถาวร
ูนเกิดประเสริฐศักดิ์- อนึ่งอย่าด่าว่าแดดแลลมฝน อย่ากังวลเร่งวันให้พลันดับ-
วันกำเนิดเกิดสวัสดิ์ อย่าฆ่าสัตว์เสียสง่าทั้ง
ราศีอายุน้อยถอยเลื่อนทุกเดือนปี แล้วมักมีทุกข์โศกโรคโรคาฯลฯ
ตัวอย่างเหล่านี้มันเป็นส่วนน้อยนิดที่ปรากฏในผลงานของท่านสุนทรภู่หากใครสนใจก็สามารถหาอ่านได้อย่างละ
เอียดในแต่ละเรื่องที่ท่านประพันธ์ไว้ซึ่งแต่เพียงแค่นี้เรายังได้เห็นถึงอัจฉริยะภาพในเชิงวรรณศิลป์
ตลอดจนเนื้อหาที่ให
้ความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างน่าทึ่งสมกับที่ท่านเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็น
ผู้มี
ผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก เมื่อครบปีเกิด 200 ปี วันที่ 26
มิถุนายน 2529 ที่ผ่านมา ซึ่งทุกวันที่ 26 มิถุนายน
ของทุกปีถือเป็น “ วันสุนทรภู่ ” วันกวีไทยวันที่เราจะระลึกถึงกวีเอกของเราด้วยความภาคภูมิใจ.

ที่ |
ประเภท |
เรื่อง |
ความยาว |
ปี
พ.ศ. |
รัชกาลที่ |
วัตถุประสงค์เพื่อ |
1 |
กลอนนิราศ |
เมืองแกลง |
1 เล่ม สมุดไทย |
2350 ต้นปี |
ที่ 1 |
บันทึกการเดินทาง |
2 |
กลอนนิราศ |
พระบาท |
1 เล่ม สมุดไทย |
2350 ปลายปี |
ที่ 1 |
บันทึกการเดินทาง |
3 |
กลอนนิราศ |
ภูเขาทอง |
1 เล่ม สมุดไทย |
2371 |
ที่ 3 |
บันทึกการเดินทาง |
4 |
กลอนนิราศ |
วัดเจ้าฟ้า |
1 เล่ม สมุดไทย |
2375 |
ที่ 3 |
บันทึกการเดินทาง |
5 |
กลอนนิราศ |
อิเหนา |
1 เล่ม สมุดไทย |
|
|
สดุดีพระเกียรติ
ร.2 |
6 |
กลอนนิราศ |
สุพรรณ |
1 เล่ม สมุดไทย |
2379 |
ที่ 3 |
บันทึกการเดินทาง |
7 |
กลอนนิราศ |
รำพันพิราป |
1 เล่ม สมุดไทย |
2385 |
ที่ 3 |
บันทึกชีวิต |
8 |
กลอนนิราศ |
พระประธม |
1 เล่ม สมุดไทย |
2385 |
ที่ 3 |
บันทึกการเดินทาง |
9 |
กลอนนิราศ |
เพชรบุรี |
1 เล่ม สมุดไทย |
2392 |
ที่ 3 |
บันทึกการเดินทาง |
10 |
นิทานคำกลอน |
โคบุตร |
8 เล่ม สมุดไทย |
2356 |
ที่ 1 |
การบันเทิง |
11 |
นิทานคำกลอน |
พระอภัยมณี |
94 เล่ม สมุดไทย |
2358 |
ที่ 2-3 |
การเล่นละครนอก |
12 |
นิทานคำกาพย์ |
พระไชยสุริยา |
1 เล่ม สมุดไทย |
2383 |
ที่ 3 |
ตำราเรียน |
13 |
นิทานคำกลอน |
ลักษณวงษ์ (ตอนต้น) |
15 เล่ม สมุดไทย |
|
|
การบันเทิง |
14 |
นิทานคำกลอน |
สิงหไตรภพ |
1 เล่ม สมุดไทย |
2383 |
ที่ 2-3 |
การบันเทิง |
15 |
กลอนบทละคร |
อภัยนุราช |
1 เล่ม สมุดไทย |
2394 |
ที่ 4 |
การแสดงละคร |
16 |
กลอนเสภา |
ขุนช้าง ขุนแผน
(ตอนกำเนิดพลายงาม) |
1 เล่ม สมุดไทย |
2397 |
ที่ 2 |
การขับเสภา |
17 |
กลอนเสภา |
พระราชพงศาวดาร |
2 เล่ม สมุดไทย |
2394 |
ที่ 4 |
การขับเสภา |
18 |
สุภาษิตคำกลอน |
สวัสดิรักษา |
1 เล่ม สมุดไทย |
2367 |
ที่ 2 |
ถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ |
19 |
สุภาษิตคำกลอน |
เพลงยาวถวายโอวาท |
1 เล่ม สมุดไทย |
2373 |
ที่ 3 |
ถวายเจ้าฟ้ากลาง
และเจ้าฟ้าจิ๋ว |
20 |
สุภาษิตคำกลอน |
สุภาษิตสอนหญิง |
1 เล่ม สมุดไทย |
2380-83 |
ที่ 3 |
สอนสตรีทั่วไป |
21 |
|
เห่ จับระบำ |
|
|
|
|
22 |
|
เห่ กากี |
|
|
|
|
23 |
บทเห่กล่อม |
เห่ พระอภัยมณี |
1 เล่ม สมุดไทย |
2394 |
ที่ 4 |
ขับกล่อมพระบรรทม
พระโอรส ธิดา ในรัชกาลที่ 4 |
24 |
|
เห่ โคบุตร |
|
|
|
|
|